วิธีการนั่งคู้บัลลังก์

อาจารย์แม่ปารณีย์สอนวิธีการนั่งคู้บัลลังก์ 

 

ท่าร่างพื้นฐานในการนั่ง จุดสัมผัสหกจุดจะต้องครบ

  • จุดที่หนึ่ง ก้นย้อยขวาถูกพื้น
  • จุดที่สอง น่องขวาทับฝ่าเท้าซ้าย
  • จุดที่สาม หลังเท้าขวาทัพน่องซ้าย
  • จุดที่สี่ ก้นย้อยซ้ายถูกพื้น
  • จุดที่ห้า น่องซ้ายถูกพื้น
  • จุดที่หก หลังเท้าซ้ายถูกพื้น

พูดพร้อมกันนะ มือจับด้วยนะ
จุดที่หนึ่ง ก้นย้อยขวาถูกพื้น จุดที่สอง น่องขวาทับฝ่าเท้าซ้าย จุดที่สาม หลังเท้าขวาทัพน่องซ้าย
จุดที่หนึ่ง ก้นย้อยขวาถูกพื้น จุดที่สอง น่องขวาทับฝ่าเท้าซ้าย จุดที่สาม หลังเท้าขวาทัพน่องซ้าย 
อีกทีนะคะ จุดที่หนึ่ง ก้นย้อยขวาถูกพื้น จุดที่สอง น่องขวาทับฝ่าเท้าซ้าย จุดที่สาม หลังเท้าขวาทัพน่องซ้าย 
จำไว้นะคะท่าล่างพื้นฐานในการนั่ง เราก็ได้แล้วขาขวาสามจุด ทีนี้เราจะไล่ขาซ้ายนะคะ ขาข้างซ้ายก็สามจุดเหมือนกัน อยู่ตำแหน่งเดียวกันแต่ว่ามันอยู่ข้างล่างนะ 
จุดที่สี่ ก้นย้อยซ้ายถูกพื้น จุดที่ห้า น่องซ้ายถูกพื้น จุดที่หก หลังเท้าซ้ายถูกพื้น 
จุดที่สี่ ก้นย้อยซ้ายถูกพื้น จุดที่ห้า น่องซ้ายถูกพื้น จุดที่หก หลังเท้าซ้ายถูกพื้น จำไว้นะคะท่าร่างพื้นฐานในการนั่ง

จุดสัมผัสหกจุดจะต้องครบ อารมณ์หลักในการนั่งจะให้กำหนดพองยุบจะให้กำหนดพองยุบ ดูอาการเคลื่อนของท้องตรงสะดือ จะให้กำหนดพองยุบดูอาการเคลื่อนของท้องตรงสะดือ เบื้องต้นคือท่าร่างจะต้องได้ก่อน ถ้าเรานั่งหลังหย่อน หนังท้องตรงสะดือมันจะถูกกด มันจะกำหนดท้องยุบไม่ได้ มันจะไม่ชัด เพราะฉะนั้นท่าร่างจะต้องได้ อุชุง กายัง ปะณิธายะ แปลว่า ตั้งกายให้ตรง 

การทรงกายมีอยู่สามช่วง

  • ช่วงที่หนึ่ง จากเอวถึงจุดสัมผัสหกจุดจะต้องครบ
  • ช่วงที่สอง จากเอวถึงไหล่จะต้องตรง
  • ช่วงที่สาม จากคอถึงศีรษะจะต้องตรง

ไม่ให้หลังหย่อน ถ้าหลังหย่อยการทรงกายช่วงที่สองก็ไม่ได้แล้ว หลังหย่อนหน้าก็ต้องก้มท่าร่างไม่ได้แล้ว ท่าร่างไม่ได้  อุชุง กายัง ปะณิธายะ นะคะ เมื่อกี้การทรงกายอธิบายไปแล้ว จุดสัมผัสหกจุดก็อธิบายไปแล้ว อุชุง กายัง ปะณิธายะ แปลว่าตั้งกายให้ตรง การทรงกายมีอยู่สามช่วงรู้แล้ว ที่นี้ตั้งกายให้ตรงเราจะได้อานิสงส์ ๔ ประการ

การตั้งกายตรงเราจะได้อานิสงส์ ๔ ประการ

  • หนึ่ง ทำให้วิริยะทางจิตเราจะเพิ่มขึ้น ทำให้วิริยะทางจิตเราจะเพิ่มขึ้น คือความเพียรเราจะเพิ่มขึ้นความเพียรในการกำหนด 
  • สอง ทำให้อินทรีย์สมดุล อินทรีย์สมดุลยังไง มีสภาวะอะไรเข้ามาก็จะรู้เร็ว มันจะตื่นตัว คิดเข้าก็รู้เรา ถ้านั่งหลังหย่อนนิดหนึ่งเราก็จะรู้เร็ว ถ้านั่งหลังตรงอินทรีย์สมดุล
  • สาม ทำให้มรรคมีกำลัง คิดเข้ามาแล้วก็รู้เร็ว กำหนดก็หายเร็วเพราะข้อสามมรรคมีกำลัง ทำให้มรรคมีกำลัง ถ้าการทรงกายได้
  • สี่ ขจัด ถีนมิทธะ ความท้อแท้ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน สำคัญมากเลยถ้าเรานั่งหย่อนคิดเข้าก็เพลิน คิดเข้าก็เพลินไม่กำหนดแล้วเดี๋ยวก็ง่วง

ท่าร่างเราได้นะคะ อารมณ์หลักในการนั่งจะให้กำหนดพองยุบ ดูอาการเคลื่อนของท้องตรงสะดือ หนังท้องตรงสะดือนี่เป็นรูปบัญญัติ เวลากำหนดให้กำหนดตามอาการเคลื่อนเข้าเคลื่อนออกเป็นรูปปรมัตถ์ กำหนดให้กำหนดยังไง

องค์ประกอบของการกำหนดมีอยู่ ๔ ข้อ

  • ข้อ ๑. ปริกรรมนิมิต แปลว่า เครื่องหมายในการกำหนด
  • ข้อ ๒. ปริกรรมภาวนา แปลว่า คำภาวนาหรือว่าคำกำหนด
  • ข้อ ๓. อุคคหนิมิต แปลว่า ปัจจุบันนิมิตอะไรเกิดขึ้น
  • ข้อ ๔. ปฏิภาคนิมิต คือ คำกำหนดกับอาการต้องออกพร้อมกัน สิ้นสุดพร้อมกัน ออกพร้อมกัน สิ้นสุดพร้อมกัน พอดีกัน ทาบกัน สิ้นสุดพร้อมกันเ หมือนเงากับเจ้าของ

๑.ปริกรรมนิมิต 

เครื่องหมายในการกำหนดกำหนดอะไร กำหนดอารมณ์ อารมณ์ คืออาหารของจิต อารมณ์มี ๖

    • ๑. รูปารมณ์ อารมณ์คือ รูป เห็นก็เห็นหนอๆ เรานั่งหลับตาอยู่เห็นอะไรเราก็เห็นหนอ ต้องกำหนดเห็นหนอ
    • ๒. สัททารมณ์ อารมณ์คือ เสียง ได้ยินก็ได้ยินหนอ
    • ๓. คันธารมณ์ อารมณ์คือ กลิ่น ได้กลิ่นก็ได้กลิ่นหนอ
    • ๔. รสารมณ์ อารมณ์คือ รส รู้รสก็รู้รสหนอ
    • ๕. โผฏฐัพพารมณ์ อารมณ์คือ การเคลื่อน การนิ่ง ถูก โดน ชน กระทบ พองยุบมันจะ เคลื่อนเข้าเคลื่อนออก หรือเวลาเดิน อะไรก็แล้วแต่
    • ๖. ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์ มีอยู่ ๒ ประเภท 
      • อย่างที่หนึ่ง เป็นกุศล เจ็บ ปวด ตึง ชา เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เมื่อย แน่น เขาเรียก เวทนา อันนี้เป็นกุศล เป็นธัมมารมณ์ประเภทกุศล
      • อย่างที่สอง ธัมมารมณ์ที่เป็นอกุศล ก็คือ สภาวะจิต นิวรณ์ กามฉันทะ ทุกอย่างเขาเรียกว่า สภาวะจิต คิด นึก หงุดหงิด ขี้เกียจ ขี้คล้าน ท้อแท้ ท้อถอย เบื่อ อึดอัด กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อะไรก็แล้วแต่ ในใจคิดอะไร อันนี้คือเป็นธรรมประเภทอกุศล ขณะที่เกิดขึ้นจิตเราก็ไม่สะอาดแล้ว เขาเรียกว่า สภาวะจิต  

๒.ปริกรรมภาวนา

แค่นั้นไม่พอๆ รูปารมณ์ อารมณ์คือ รูป เห็นก็แค่ เห็นหนอ เห็นปุ๊บนั้นเห็นคน นี้คนนี้ อันนี้แสดงว่าไปจับบัญญัติ ให้กำหนดอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์ เห็นแค่เห็นหนอนี้เป็นปรมัตถ์ ถ้าเห็นปุ๊บอันนี้คนนี่เป็นบัญญัติแล้ว ไปจับบัญญัติแล้วไม่ใช่ไปจับปรมัตถ์ จับปรมัตถ์คือแค่เห็นหนอ ได้ยินปุ๊บก็แค่ยินหนอ พอได้ยินปุ๊บนี้เสียงนกนี้ ไปจับบัญญัติอีกแล้ว นี่เสียงเพราะจังเลย อันนี้ไม่สำรวมอินทรีย์หู นี่สวยจังเลยไม่สำรวมอินทรีย์ตา จมูกเหมือนกัน กระทบทางไหน ถ้าจับปรมัตถ์ ก็คือ ได้กลิ่น ก็ได้กลิ่นหนอ ต้องสำรวมอินทรีย์ด้วย ไม่ว่าจะเข้าทวารไหน เราต้องสำรวมอินทรีย์ด้วย ได้กลิ่นก็แค่ได้กลิ่น รู้รสก็แค่รู้รสหนอ 

อารมณ์หลักในการนั่ง ให้กำหนดพองยุบ ดูอาการเคลื่อนของท้องตรงสะดือ ถ้าท่าร่างไม่ได้หลังหย่อน หนังท้องตรงสะดือมันจะถูกกด พองยุบก็จะไม่ชัด เราก็จะไปบังคับลมหายใจให้ท้องพองท้องยุบชัด อันนี้เป็นอัตรา เดี๋ยวเป็นวิปลาสด้วย เพราะฉะนั้นต้อง อุชุง กายัง ดึงขยับเท้าดีๆนะ เท้าขวาให้ชิดๆ ติดท้องน้อยเลย แล้วเอามือวาง แล้วดันตั้งแต่เอวขึ้นไปให้อกแอ่น ท้องมันจะยื่นมาข้างหน้าหน่อยอกจะแอ่น หน้ามันก็จะขึ้น อินทรีย์สมดุล มัชฌิมา ท่าร่างได้นะอย่างเนี่ยมัชฌิมาแล้ว ท่าร่างได้แล้ว อินทรีย์สมดุลแล้วแต่ว่าถ้าเราเกร็งที่ไหล่ ผ่อนไหล่ลงนิดหนึ่งๆ ยันหลังไว้ก้นด้านนอกมันจะลอย

ถ้าหากว่าเหยียดให้สุดแล้วท่าร่างได้ ก้นด้านนอกมันจะลอย อกมันจะแอ่น ท้องมันจะยื่นไปข้างหน้านิดนึง อกมันจะแอ่นถ้าเราเกร็งที่ไหล่อันนี้ไม่ได้แล้ว เราต้องผ่อนไหลผ่อนการเกร็งลง แต่หลังต้องตรงมัชฌิมาแล้วมันจะเจ็บจะปวดจะเมื่อยแน่นอน มันจะมีสภาวะเกิดขึ้น นั่งแล้วไม่สบาย มันจะเจ็บจะปวดจะเมื่อยอันนั้นคืออารมณ์ที่เราต้องกำหนด รู้สึกอะไรเดี๋ยวก็ชิน เดี๋ยวก็ดีขึ้น

โอ้นั่งแล้วหลังตรงไม่ดีเลยหย่อนสักหน่อย อันนี้ท่านั่งไม่ได้ ท่านั่งไม่ได้นั่งแล้วสบาย  ตอนนั้นจิตไม่สะอาดแล้ว ไม่มัชฌิมาแล้วกามเข้าแล้ว คิดเขาก็ไม่กำหนดหรอกมันจะเพลินมี อารมณ์อะไรเข้ามา รู้ ได้ยิน แต่สติมันจะช้า เพราะอินทรีย์ไม่สมดุล เพราะฉะนั้นต้องมัชฌิมาหลังจะต้องตรงการทรงกายต้องได้ เวลาเหยียดหลัง ถ้าเราเหยียดดันเหยียดไหล่ขึ้นดันเอวขึ้นไป ถ้าเราดันแต่หลังขึ้นเนี่ยมันไม่สุด ถ้าเราเหยียดหลังขึ้นเนี่ยมันไม่สุด เราต้องดันตั้งแต่เอวขึ้นไป ก้นด้านนอกมันจะลอย มันจะไม่เต็มเบาะ รู้สึกไหมคะ อกมันจะแอ่น แล้วนั่งไปสักประเดี๋ยวมันจะเจ็บจะปวดจะเมื่อยอยู่แล้ว อันนี้ท่าร่างได้ อินทรีย์สมดุลย์ ทีนี้หลับตาเบาๆ หลับตาเบาๆ เหมือนเรานอนหลับหายใจเป็นปกติ ดูอาการเคลื่อนของท้องตรงสะดือ เหนือสะดือ ล่างสะดือ ข้างสะดือขวาซ้ายไม่เอานะคะ ดูตรงสะดือที่เดียว อย่าเพ่งๆ แค่จิตจับความรู้สึกนะคะวางไว้ตรงสะดือเฉยๆ พอท้องเริ่มเคลื่อนออก

๓.อุคคหนิมิต

องค์ประกอบของการกำหนดข้อ ๓ เกิดขึ้นแล้ว พอท้องเริ่มเคลื่อนออก คือ อุคคหนิมิต ปัจจุบันนิมิตอะไรเกิดขึ้น ทีนี้องค์ประกอบของการกำหนด ข้อ ๑ คือ ปริกรรมนิมิต แปลว่า เครื่องหมายในการกำหนด ก็เกิดขึ้นทันที ท้องมันเคลื่อนออกใช่ไหม ข้อ ๑ ข้อ ๓ เกิดขึ้นแล้ว ปัจจุบันท้องมันเคลื่อนออก ข้อ ๑ ก็เกิดขึ้นทันที คือเครื่องหมายในการกำหนด ก็คือ พอง ข้อ ๒ ปริกรรมภาวนา แปลว่า คำกำหนดก็ต้อง พอง สามข้อเกิดขึ้นพร้อมกันแล้ว ข้อที่ ๔ คือคำกำหนดกับอาการ ต้องออกพร้อมกันสิ้นสุดพร้อมกัน ปฏิภาคนิมิต คำกำหนดกับอาการต้องออกพร้อมกันสิ้นสุดพร้อมกัน เหมือนเงากับเจ้าของ สมมุติมือนี้เป็นหนังท้องตรงสะดือ เป็นรูปบัญญัติ เวลากำหนดให้กำหนดตามอาการเคลื่อนเข้าเคลื่อนออกเป็นรูปปรมัตถ์ พอท้องเริ่มเคลื่อนออกปุ๊บ องค์ประกอบข้อไหนเกิด จำได้ไหมข้อไหน ข้อ ๓ อุคคหนิมิต  คือท้องเริ่มเคลื่อนออกปุ๊บ องค์ประกอบของการกำหนด ข้อ ๓ คืออุคคหนิมิต  ปัจจุบันท้องมันเคลื่อนออก นี้องค์ประกอบของการกำหนด ข้อ ๑ ก็คือเครื่องหมายในการกำหนด ก็คือ มันพอง องค์ประกอบของการกำหนด ข้อ ๒ ก็คือคำกำหนด ก็คือ พอง พอนิ่งปุ๊บเราก็ใส่ หนอ

๔. ปฏิภาคนิมิต

องค์ประกอบของการกำหนด ข้อ ๔ ออกพร้อมกัน สิ้นสุดพร้อมกัน พอง พอนิ่งปุ๊บเราก็ใส่ หนอ  ทีนี้องค์ประกอบของการกำหนด ๔ ข้อ เกิดขึ้นพร้อมกันไหม พร้อมกัน จำไว้นะ คำกำหนดกับอาการต้องออกพร้อมกันสิ้นสุดพร้อมกัน องค์ประกอบของการกำหนด เกิดขึ้นพร้อมกันนะ ทีนี้พอเวลาท้องเคลื่อนออก เวลาเราหลับตานี้ อย่าเพ่งตา อย่ากดตา หลับตาเบาๆ เหมือนเรานอนหลับ เหมือนเราแค่รู้สึกจิตจับที่หนังท้องตรงสะดือแต่ไม่ได้เพ่ง เอาแค่รู้สึกจับปรมัตถ์ ก็คือความรู้สึกรู้ว่าท้องมันเคลื่อนออกแล้วก็พูดตาม พอเคลื่อนออก เราก็พอง พอนิ่งปุ๊บเราก็ใส่ หนอ พอเริ่มเคลื่อนเข้าก็คือ ยุบ ก็ยุบ พอนิ่งเราก็ใส่ หนอ พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ อย่าบังคับลมหายใจ อย่าดูลมหายใจนะ ไม่ชัดไม่เป็นไร ไม่ชัดเราก็มีตัวแทนในการกำหนด เดี๋ยวจะอธิบาย ให้เขาเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเราไม่ได้บังคับ บังคับเป็นอัตราเดียวเป็นวิปลาสด้วย อารมณ์หลักในการนั่งให้กำหนดพองยุบ อธิบายแล้ว นี้ถ้าเกิดว่า พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ ถ้าพองยุบเบาๆ ไม่ชัด ตัวแทนในการกำหนด ก็คือ รู้หนอๆ จำไว้นะคะ พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ ถ้าพองยุบเบาๆ ไม่ชัด ตัวแทนในการกำหนด ก็คือ รู้หนอๆ รู้หนอสองที มันชัดขึ้นมา ทันตอนพอง เราก็พองเลย ไม่ทันตอนพองทันตอนยุบเราก็ยุบหนอทันที แต่ถ้าเบาๆ ไม่ชัดเราก็รู้หนอๆ แต่ถ้ามันเร็วเป็นพองยุบพองยุบใส่หนอไม่ทัน ตัวแทนในการกำหนดก็คือ รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ ประมาณนี้ อย่าไปรู้ หนอ รู้หนอ รู้หนอ เร็วๆ ตามจังหวะที่มันเร็วนะหัวใจวายใจขาดตายเลย เพราะฉะนั้นแค่ รู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ ประมาณนี้ ถ้าพองยุบมันนิ่งไปก็ นิ่งหนอๆ นิ่งหนอพอมันโผล่มาก็ทันตอนพองก็พองเลย นี่คืออารมณ์หลักในการนั่ง ให้ดูตรงสะดือที่เดียว เหนือสะดือ ล่างสะดือ ข้างสะดือ ขวาซ้ายไม่เอาไม่ใช่ของจริง เป็นพองยุบอุปทาน พองยุบสร้างขึ้นมา ทีนี้ถ้าเกิดว่าตรงสะดือมันไม่ชัดมันแค่เบาๆ เหนือสะดือล่างสะดือมันชัดไปไม่ได้นะ อันนั้นเป็นพองยุบอุปทาน เอาของจริงตรงสะดือไม่ชัดก็ไม่เป็นไร นี่คืออารมณ์หลัก อารมณ์หลักเราจะนั่งก่อนแล้วเดี๋ยวค่อยกำหนดอารมณ์รอง ยืดหลังให้ตรง ดันเอวขึ้นไปให้อกแอ่น หลับตาเบาๆ อย่าเพ่งตาอย่ากดตา

 

รูปภาพประกอบท่านั่งคู้บัลลังก์ 



ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-12-21

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง/อ่านเพิ่มเติม