ดอกบัว ๔ จำพวก

จากนั้นพระองค์เสด็จไปที่ใต้ต้นไทร (อชปาลนิโครธ) อีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้ทรงตัดสินพระทัยว่า จะเทศนาสั่งสอน วิชาการดับทุกข์ท่ีทรงตรัสรู้ดีไหม เพราะพิจารณาดูโดยรวม แล้ว ทรงรู้สึกว่าความเป็นจริงที่พระองค์ตรัสรู้นั้น ลึกซึ้ง มากยิ่งนัก ยากต่อการที่จะมีผู้รู้ตามได้ ทรงรู้สึกว่าการ สอนถึงขั้นให้ได้ผล เป็นเรื่องที่ยากมาก การที่พระองค์จะ สละการปรินิพพานในขณะนั้นเพื่อทำการสอน น่าจะเป็น ไปได้โดยยาก อาจจะเหนื่อยเปล่า ที่สุดพระองค์ทรงแยกปัญญาแห่งมวลมนุษย์ออกเป็น ๔ กลุ่ม เปรียบดังดอกบัว ๔ จำพวก ดังนี้

  • กลุ่มที่ ๑ อุคฆฏิตัญญู ผู้มีปัญญาดีเยี่ยม บุคคล พวกนี้อินทรีย์แก่มากที่สุดแล้ว เพียงแค่ฟังหัวข้อธรรมโดย ย่อเท่านั้น ก็สามารถรู้ธรรม นำสู่การปฏิบัติจนถึงมรรค ผล นิพพานได้ เวลาปฏิบัติธรรมวิปัสสนาญาณจะเริ่มที่ พลวอุทยัพพยญาณ คืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ เปรียบ เหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว เพียงต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบาน ในฉับพลัน วิปัสสนาญาณในการปฏิบัติจึงมี ๙ ญาณ 
  • กลุ่มที่ ๒ วิปจิตัญญู คือกลุ่มผู้มีปัญญาดี อินทรีย์ แก่ไม่มาก ฟังธรรมโดยย่อยังไม่เข้าใจ ต้องอธิบายขยาย ความให้พิสดารลึกซึ้งจึงเข้าใจ สามารถนำสู่การปฏิบัติ จนถึงให้ผลสูงสุดได้ เวลาปฏิบัติธรรมวิปัสสนาญาณจะ เริ่มที่พลวสัมมสนญาณ คือสัมมสนญาณแก่ ๆ เปรียบ เหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ จะพ้นน้ำและบานในวันต่อไป วิปัสสนาญาณในการปฏิบัติจึงมี ๑๐ ญาณ
  • กลุ่มที่ ๓ เนยยะ คือกลุ่มผู้มีปัญญา มีอินทรีย์อ่อน แต่สามารถปรับพัฒนาให้เจริญขึ้นจนแก่ได้ กลุ่มนี้ฟังธรรม โดยย่อไม่เข้าใจ อธิบายขยายความให้พิสดารลึกซึ้งก็ยัง ไม่เข้าใจ ต้องอธิบายขยายความซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จึงเข้าใจ และนำสู่การปฏิบัติจนถึงให้ผลสูงสุดได้ เวลาปฏิบัติธรรม วิปัสสนาญาณจะเร่ิมท่ีนามรูปปริจเฉทญาณ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่ยังอยู่ใต้น้ำแต่เริ่มแก่แล้ว ไม่นานก็จะพ้นน้ำในวัน ต่อ ๆ ไป และจะบานในที่สุด วิปัสสนาญาณในการปฏิบัติ จึงมี ๑๖ ญาณ ในสามกลุ่มนั้น เฉพาะผู้ได้ฌานที่เรียกว่า “ฌาน ลาภี” ผู้มีฌานเป็นสมบัติ สามารถศึกษาวิปัสสนาญาณ พิเศษ ๘ ญาณ เช่น มโนมยิทธญาณ อิทธิวิธิญาณ เป็นต้น 
  • กลุ่มที่ ๔ ปทปรมะ คือกลุ่มผู้ที่ปัญญาในการตรัสรู้ ตามยังไม่มี อินทรีย์อ่อนสุด ยังไม่สามารถที่จะพัฒนาให้ แก่ถึงขีดสุดได้ กลุ่มนี้จะฟังธรรมอย่างไร ๆ ก็ไม่สามารถ นำสู่การปฏิบัติ จนถึงให้ผลสูงสุด คือ มรรคผลนิพพานได้ เวลาปฏิบัติธรรมวิปัสสนาญาณจะเริ่มที่นามรูปปริเฉทญาณ แต่จะพัฒนาได้ไม่เกินปัจจยปริคคหญาณ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่เพิ่งจะโผล่ออกมาจากโคลนตม ยังอ่อนอยู่ ดอกบัวกลุ่มนี้อาจจะเป็นเหยื่อของเต่าของปลาได้ แต่ถ้า พัฒนาให้เติบโตพ้นจากวัยแห่งเหยื่อเต่าปลา ก็จะสามารถ พ้นน้ำและบานได้ในที่สุด

 

ที่มา:จากหนังสือพระธรรมจักรเทศนาฏีกา

 



ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-12-11