คำว่า "อยาก" กับ "ตัณหา"

คำว่า “อยาก” กับ “ตัณหา” ทำความเข้าใจตรงนี้หน่อย คำว่าตัณหานี่ทุกคนจะ ตีความว่า หมายถึงความอยากใช่ไหม ตัณหานี้ไม่ได้มี ความหมายว่า “อยาก” เสมอไปนะ เช่นกามตัณหาหรือ กิเลสกามหรือมาร ได้แก่ความพอใจ ชอบใจ สุขใจ นี้แหละ ยังไม่ถึง “อยาก” เลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง จัดว่าเป็นตัณหาแล้ว

จะเห็นได้ว่าแค่ความพอใจ ก็เป็นตัณหาแล้ว พระองค์ ทรงบัญญัติชื่อเรียกตัณหาประเภทนี้เป็นภาษาปริยัติไว้ว่า “กามตัณหา” อย่าเข้าใจผิดว่ามีแต่ “อยาก” เท่านั้น และ “อยาก” นั้นก็อย่าเข้าใจว่าเป็นตัณหาทั้งหมดนะ เช่นท่าน ทั้งหลายทำกัมมัฏฐานอย่างเต็มที่อยู่นี่ อยากออกจากทุกข์ อยากดับตัณหากิเลส อยากตัดสังสารวัฏฏ์ มีความศรัทธา มีความเพียร เป็นพลังทำให้มรรค ๘ เกิดทั้งวันทั้งคืนเต็มที่ อยู่นี่ เป็นกุศลหรืออกุศล ใช่ เป็นกุศล กำลังปฏิบัติการ ดับตัณหาอยู่ จะเป็นตัณหาได้อย่างไร

อย่างนี้บัณฑิตทั้งหลายเรียกว่า “กุศลฉันทะ” เป็น ของดีนะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ตัณหานี้เป็นเหตุ แห่งทุกข์ คือเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ดังนั้นเวลาจะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุคือตัณหา และ เราต้องการดับตัณหา จึงปฏิบัติการเพื่อดับมันอยู่ ขณะนั้น กำลังทำลายตัณหาอยู่ ไม่ได้สร้างตัณหาขึ้น คำว่าอยาก ในที่นี้จะเป็นกิเลสตัณหาได้อย่างไร

 

ที่มา:จากหนังสือพระธรรมจักรเทศนาฏีกา



ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-12-11