กฎระเบียบ


* ผู้สนใจปฏิบัติธรรมโปรดตรวจสอบตารางการปฏิบัติธรรมและมาให้ตรงช่วงเวลาที่ทางศูนย์ฯ กำหนดไว้ เพื่อที่ทางศูนย์ฯ จะได้สามารถอำนวยความสะดวกให้กับทุกท่านได้อย่างเต็มที่

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • อายุ 15 ปีขึ้นไป (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ควรสมัครเข้าปฏิบัติในหลักสูตรสำหรับเด็กและเยาวชน)
  • มีรางกายสมบูรณ์ แข็งแรง ช่วยเหลือตัวเองได้
  • มีสุขภาพจิตปรกติ ไม่เป็นโรคประสาท โรคจิต ลมชัก ลมบ้าหมู หรือร่างทรง
  • ไม่ติดสิ่งเสพติดทุกชนิด
  • ปฏิบัติตามกฏระเบียบโดยเคร่งครัด

ระเบียบการรับสมัคร

  • เขียนจดหมายแสดงความจำนง ขอระเบียบการและใบสมัครพร้อมทั้งสอดซองเปล่าติดแสตมป์ 3 บาท จ่าหน้าถึงตัวท่านเอง ส่งถึงผู้อำนวยการศูนย์ฯ เลขที่ 100/1 หมู่1 ต.ดงละคร อ.เมือง จ. นครนายก 26000 (หรือขอรับระเบียบการ และใบสมัครตนเอง)
  • หากนักปฏิบัติยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องได้รับอนุญาตจากมารดา บิดา สามี หรือผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์ อักษรในใบสมัคร
  • ยื่นใบสมัครพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเป็นหลักฐาน ในวันรับสมัคร เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลหากท่านมีคุณสมบัติตามที่ศูนย์ตามที่ศูนย์กำหนดท่านจะได้รับใบตอบรับไว้เป็นหลักฐานในการลงทะเบียน
  • ผู้ที่สมัครแล้วมาไม่ได้ กรุณาแจ้งให้ศูนย์ทราบก่อนวันเข้าปฏิบัติอย่างน้อย 7 วันเพื่อศูนย์จะได้แจ้งให้ผู้ที่เป็นสำรองได้เข้าปฏิบัติแทน
  • ผู้สมัครและผู้เข้าปฏิบัติต้องเป็นคนเดียวกัน

การเตรียมตัวเตรียมใจ

  • ไม่นำภารกิจไปด้วย ตัดความกังวลในทุกๆ เรื่อง
  • จะละทิ้งยศศักดิ์ ฐานะ ตำแหน่งไว้ที่บ้าน
  • จะตั้งใจปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

การเตรียมของใช้

  • เตรียมชุดขาวแบบและสีสุภาพ เป็นกางเกงขายาว กระโปรงขาวครึ่งน่อง หรือซิ่น
  • เตรียมของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน หวี
  • ยาประจำตัวที่จำเป็น
  • เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อใช้ในการลงทะเบียน
  • เตรียมนาฬิกาปลุกและนาฬิกาจับเวลามาเอง

ข้อแนะนำ

  • ไม่นำขนมและอาหารไปด้วย
  • ไม่สวมเครื่องประดับใดๆ
  • งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
  • ทำตนให้เป็นผู้อยู่ง่าย กินง่าย มีความเกรงใจและให้เกียรติผู้อื่น

กฏ ระเบียบ และข้อบังคับในการปฏิบัติ

  • เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของวิปัสสนาจารย์อย่างเคร่งครัด
  • มีความตั้งใจ อดทน และมีวิริยะ ในการเรียนการสอน ให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อเนื่องในช่วงที่เข้าปฏิบัติ
  • ไม่โทรศัพท์ และไม่ติดต่อกับใครตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและต้องได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ เพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมก่อน
  • ผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะต้องแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรในใบสมัครซึ่งทางศูนย์ฯจัดเตรียมไว้ให้ ต้องมีบัตรประชาชน หรือใบสำคัญแสดงสัญชาติ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี เพื่อแสดงแก่อาจารย์ ผู้ปกครองของศูนย์ฯ จนเป็นที่พอใจ หรือ กรณีที่จำเป็นก็ให้มี วิปัสสนาจารย์ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ รับรอง
  • ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งไม่มีผู้ปกครองมาด้วย(ยกเว้นได้รับอนุญาต) ผู้ป่วยโรคจิต โรคติดต่อ โรคที่สังคมรังเกียจ ทางศูนย์ฯไม่สามารถรับไว้ปฏิบัติธรรมได้ สำหรับผู้ที่มีอวัยวะไม่สมบูรณ์ให้อยู่ในดุลยพินิจของวิปัสสนาจารย์
  • ห้ามคุย บอก หรือถามสภาวะกับผู้ปฏิบัติ เพราะจะเป็นภัยแก่ผู้ที่กำลังปฏิบัติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะทำให้อารมณ์ฟุ้งซ่าน และเสียสมาธิ อันจะทำให้ผลการเรียนเสื่อม หากมีความสงสัยในหัวข้อวัตรปฏิบัติอย่างไรแล้ว ให้เก็บไว้สอบถามครูผู้สอน ห้ามสอบถามผู้ปฏิบัติด้วยกันเป็นอันขาด
  • ขณะที่ยังอยู่ในระหว่างการปฏิบัติ ห้ามสวดมนต์ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์
  • ผู้ปฏิบัติจะต้องงดเว้นจากของเสพติดทุกชนิด ได้แก่ กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน บุหรี่ หมาก เครื่องดองของมึนเมา หรือนำยาเสพติดทุกชนิด เข้ามาในบริเวณศูนย์ฯเป็นอันขาด
  • หากผู้ปฏิบัติเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่โดยเร็ว เพื่อหาทางช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณี ไม่ควรละเว้นการปฏิบัติ หากไม่มีความจำเป็น
  • นักปฏิบัติจะต้องระลึกเสมอว่า เรามาปฏิบัติเพื่อยกระดับจิตใจ ขัดเกลากิเลสตัณหาให้เบาบางลง มิใช่มาเพื่อหาความสุข ในการอยู่ดี กินดี จึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษต่อความไม่สะดวก และกระทบกระทั่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องทดสอบ และความอดทนและคุณธรรมของนักปฏิบัติว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด
  • ห้องหรือกุฏิที่จัดไว้เป็นห้องปฏิบัติ เฉพาะพระสงฆ์ก็ดีหรือห้องที่จัดไว้เฉพาะนักปฏิบัติที่เป็นบุรุษก็ดี สตรีก็ดี ห้ามมิให้เพศตรงข้ามเข้าไปนอน หรือใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม โดยเด็ดขาด
  • นักปฏิบัติจะต้องอยู่ในบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น  ถ้าไม่มีธุระจำเป็น ไม่ควรออกนอกสถานที่ปฏิบัติ และถ้ามีธุระจำเป็นต้องออกจากศูนย์ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเสียก่อน
  • ทางศูนย์ฯ ได้จัดที่พักไว้โดยเฉพาะเป็นห้องนอน มีไฟฟ้า น้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วมพร้อม ขอความร่วมมือได้โปรดช่วยกัน ใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด (ไม่ควรเปิดน้ำ ไฟฟ้าและพัดลมทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่ในห้องพัก) และโปรด ทำความสะอาดในห้อง หน้าห้อง ห้องน้ำ ห้องส้วม รวมทั้งดูแลรักษา ของใช้ประจำห้อง ก่อนส่งคือเจ้าหน้าที่เมื่อเลิกปฏิบัติ
  • ให้ผู้เข้าปฏิบัติ เซ็นต์ยืมของใช้ประจำห้อง และตรวจสอบให้ครบถ้วนพร้อมให้เจ้าหน้าที่เซ็นต์รับ เมื่อเลิกปฏิบัติ
  • ห้ามมิให้ ผู้เข้าปฏิบัติ ให้เงินหรือของมีค่าใดๆ กับเจ้าหน้าที่ ในศูนย์ หากต้องการบริจาค ให้บริจาคที่ฝ่ายการเงินของศูนย์ เพื่อจัดสรรให้เจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมต่อไป
  • การรับประทานอาหารมี 2 เวลา และดื่มน้ำปานะ 1 เวลาดังนี้
    • 07:00 น.   รับประทานอาหารเช้า
    • 11:00 น.   รับประทานอาหารกลางวัน
    • 17:00 น.   ดื่มน้ำปานะ
  • นักปฏิบัติจะต้องไม่นำของมีค่าติดตัวมาด้วย หากสูญหาย ทางศูนย์ฯ จะไม่รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
  • กรณีมีผู้มาเยี่ยมจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เสียก่อน การเยี่ยมนั้นให้แขกคุยได้ไม่เกิน 15 นาที และเข้าเยี่ยมได้ที่ตึกอำนวยการเท่านั้น ห้ามเข้าไปชวนคุย ทั้งในห้องหรือตามที่ต่างๆ
  • ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ดังกล่าวข้างต้น และได้รับการตักเตือนจากเจ้าหน้าที่ศูนย์ หรือวิปัสสนาจารย์ผู้สอนแล้ว แต่ยังคงประพฤติเช่นเดิมอยู่ ผู้ปฏิบัติยินยอมที่จะออกจากศูนย์ ฯ โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น และทางศูนย์ จะพิจารณาพิจารณาที่จะไม่รับผู้ปฏิบัติฝ่าฝืนกฏ ระเบียบและข้อบังคับเป็นนิจ ในการเข้าปฏิบัติครั้งต่อๆ ไป ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ วิปัสสนาจารย์ผู้สอน

 

กฎระเบียบการใช้ห้องและกุฏิกัมมัฏฐานของพระภิกษุและโยคี

  1. ห้ามพูดคุยสนทนากันทั้งในบริเวณภายในและภายนอกกุฏิในเขตปฏิบัติธรรม ยกเว้น กรณีที่จำเป็น เช่นเรื่องที่อาจเกิดอันตรายทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ตัวอย่างเช่นเห็นงูเข้าไปในกุฏิ  หรือว่าไม้กำลังจะล้มทับกุฏิที่พักที่เพื่อนอาศัยอยู่หรือว่าป่วยจนลุกไม่ไหวหรือไม่มีแรงเดินไปบอกใครได้ ให้เรียกเพื่อนข้างๆห้องให้ช่วยเหลือได้
  2. ห้ามสนทนาธรรม,สอนกัมมัฏฐาน,สอนอิริยาบถย่อยกันเองหรืออื่นๆในเขตปฏิบัติธรรมและต้องไม่ใช้เสียงห่างจากตัว ห้ามส่งเสียงและทำกิจกรรม อันเกิดเสียงดังรบกวนผู้อื่น ยกเว้นกรณีเสียงจากงานที่จำเป็น
  3. ห้ามใช้กุฏิรับแขก และห้ามขึ้นไปบนกุฏิผู้อื่น ยกเว้น พระวิปัสสนาและเจ้าหน้าที่ ที่ต้องช่วยเหลือโยคีในกิจบางอย่างและต้องขึ้นไปสองรูป/คน ห้ามขึ้นไปรูป/คนเดียว
  4. ต้องบิณฑบาตทุกวัน ยกเว้น วันที่ศูนย์ฯประกาศว่าไม่ต้องบิณฑบาตนอกวัด หรือกรณีเจ็บป่วย หรือพระวิปัสสนาจารย์ให้เก็บอารมณ์,ในวันอาทิตยธรรมสวนาทุกรูปต้องมารับบาตรตอนเช้า ๐๗.๓๐น. ที่ศาลาต้นไม้เมื่อขึ้นไปนั่งบนอาสนะแล้วไม่ควรลุกไปทำธุระอื่นอีกในขณะทำพิธี ยกเว้น ป่วยกะทันหันหรือจำเป็นต้องไปถ่ายหนักถ่ายเบาอย่างปัจจุบันทันด่วน หรือต้องลงไปทำธุระที่สำคัญยิ่ง ถ้าไม่ลงไปแล้วศูนย์ฯจะเกิดเสียหายอย่างร้ายแรง(ยกเว้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายโสต)ให้ลงมาแก้ปัญหาได้ เสร็จแล้วต้องกลับไปนั่งทันที
  5. พระภิกษุที่เข้าคอร์สต้องมาฟังธรรม ทุกวันพระ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำและ ๑๕ ค่ำ เวลา ๐๙.๐๐น.ที่ศาลาต้นไม้หรือที่ทางศูนย์ฯจัดไว้ให้ ถ้าวันพระไหนตรงกับวันอาทิตย์หรือตรงกับวันที่พระไม่ได้บิณฑบาตนอกวัด ให้โยคีมารับศีล/ฟังธรรมเวลา ๐๕.๐๐น.
  6. ปลงผมทุกวันพระกลางเดือนและสิ้นเดือน และมาฟังพระปาฏิโมกข์ เวลา ๑๕.๐๐น. ถ้ามาฟังไม่ได้ให้ฝากภิกษุอื่น นำฉันทะและปาริสุทธิศีล มาแจ้งแก่คณะสงฆ์ในอุโบสถ
  7. ขณะที่ออกจากกุฏิหรือห้องพักเพื่อทำกิจต่างๆ ต้องกำหนดอิริยาบถย่อยอย่างต่อเนื่องและต้องใส่กุญแจล๊อกกุฏิหรือห้องพักทุกครั้ง ยกเว้น เมื่อลงมาเดินบริเวณใกล้กุฏิหรือห้องพัก
  8. เมื่อจบคอร์สหรือเมื่อออกจากการปฏิบัติแล้ว ให้ทำความสะอาดกุฏิหรือห้องพักให้เรียบร้อยอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและแจ้งรายละเอียด อุปกรณ์ที่ขาดหรือชำรุดของห้องแก่เจ้าหน้าที่ธุรการได้ลงบันทึกเก็บข้อมูลไว้ ต้องคืนห้องให้กับทางศูนย์ฯ ภายใน ๓วัน และถ้าไม่สามารถนำของส่วนตัวกลับไปได้ทั้งหมด ให้เขียนชื่อและที่อยู่ไว้ที่ของนั้น และนำของนั้นมาไว้ที่ส่วนกลางพร้อมแจ้งให้เจ้าหน้าที่ธุรการได้รับทราบ
  9. ผู้ที่ไม่ใช่พระวิปัสสนาจารย์,วิปัสสนาจารย์,ครูพี่เลี้ยง,หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ถ้าไม่ได้อยู่ในศูนย์ฯเกิน ๑๕ วันขึ้นไป ต้องทำความสะอาดกุฏิหรือห้องพักให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และให้คืนกุฏิหรือห้องพักแก่ศูนย์ฯ หากมีของใช้หรืออุปกรณ์อื่นๆให้นำมาฝากที่ธุรการส่วนกลาง
  10. ห้ามติดต่อสื่อสารหรือใช้เครื่องมือสื่อสาร หากมีความจำเป็นต้องใช้ต้องแจ้งวิปัสสนาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ห้ามโทรศัพท์ในเขตกัมมัฏฐานทุกกรณี ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่
  11. ห้ามให้อาหารสัตว์ในระหว่างเข้าปฏิบัติกัมมัฏฐานเด็ดขาด ผู้ใช้กุฏิและห้องพักไม่ควรดัดแปรงต่อเติมกุฏิเองโดยไม่ได้รับอนุญาต ควรไปขออนุญาตจากเจ้าอาวาสก่อน ไม่ควรขุดดินบริเวณกุฏิ ถ้าจะตัดต้นไม้กิ่งไม้บนหลังคาให้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ธุรการ ห้ามตัดเองเด็ดขาด
  12. หากมีความจำเป็นต้องสั่งซื้อของให้แจ้งวิปัสสนาจารย์ในวันส่งอารมณ์เท่านั้น ในกรณีเจ็บป่วยกะทันหันให้ไปแจ้งที่ธุรการ
  13. ทางศูนย์ฯขอสงวนสิทธิ์ในการรับข่าวสารข้อมูลจากบุคคลภายนอก จะแจ้งแก่โยคีเฉพาะเรื่องสำคัญ
  14. ห่มผ้าในพิธีต้องรัดอก และบิณฑบาตต้องสะพายบาตรที่ไหล่ซ้าย โดยเอาสายซ่อนไว้ในใต้เกรียวผ้า(ลูกบวบ) ๑๔.๑ ในวันอาทิตยธรรมสวนา ๑๔.๒ ในวันอุโบสถ ฟังพระปาฏิโมกข์ ๑๔.๓ ในวันที่มีกิจนิมนต์  ๑๔.๔ ในวันสำคัญทางศาสนา,วันสำคัญของศูนย์ฯ,และวันสำคัญของบ้านเมือง
  15. พระภิกษุสามเณรที่ไม่ได้เข้ากัมมัฏฐานทุกรูปต้องมาฉันเช้า (๐๗.๒๐) และเพล (๑๑.๐๐) ที่โรงอาหารเท่านั้น (กรณีบุญวันอาทิตย์และไม่ได้บิณฑบาตนอกวัดให้มาฉัน (๐๗.๐๐) ยกเว้นแผนกโสตตรวจสอบเครื่องเสียงและภาพให้มาฉันช้ากว่าปกติได้)
  16. ภัตตาหารที่เหลือจากพระภิกษุแล้ว ให้สามเณรหยิบไปแค่พอฉันเท่านั้น ต่อจากนั้นก็ให้เจ้าหน้าที่ ที่ขับรถไปรับบิณฑบาตช่วยพระ จากนั้นก็ให้ใส่ปิ่นโตโยคี เหลือจากนั้นให้เจ้าหน้าที่ภายในศูนย์ฯหรือแขกที่มาร่วมรับประทานอาหารถ้ายังมีเหลือให้แบ่งให้เด็ก จากนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะนำอาหารไปเลี้ยงสัตว์

 การปฏิบัติธรรมแบบหมู่คณะ

            มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่ธรรมะ และหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้กลุ่มบุคคล โรงเรียน สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ต้องการนำนักเรียน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ มาปฏิบัติธรรมร่วมกันเป็นหมู่คณะ ในวาระ ในโอกาสต่างๆ ตามสมควร

เป็นลักษณะการจัดการการศึกษาแบบสงเคราะห์ แบ่งตามเวลาได้ 2 แบบ ดังนี้
        แบบแรก ใช้เวลา 1 วัน มาเช้าเย็นกลับ ให้ได้รู้จักการฟังธรรม
และฟังการปฏิบัติธรรมเพียงเล็กน้อย รับสมัครได้คณะละไม่เกิน 200 คน

        แบบที่สอง ใช้เวลาตั้งแต่ 3-15 วัน เพื่อให้ได้ลงมือปฏิบัติจริง รับสมัครได้คณะละไม่เกิน 100 คน

ผู้สนใจให้ติดต่อขอเข้าปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้ 

  • หมู่คณะที่สนใจให้ติดต่อศูนย์ก่อนวันปฏิบัติอย่างน้อย 2 เดือน
  • คณะผู้ปฏิบัติของนักเรียน นักศึกษา ต้องมีคุณครู อาจารย์มาควบคุมนักเรียนขณะที่อยู่ปฏิบัติที่ศูนย์
  • ผู้ปฏิบัติที่เป็นนักเรียน นักศึกษา ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เป็นลายลักษณ์อักษร
  • คณะผู้ปฏิบัติ นักเรียน นักศึกษา ผู้ปฏิบัติต้องรับรู้และเข้าใจว่ามาปฏิบัติอะไร และต้องเตรียมตัวเตรียมใจอย่างไรบ้าง

ระเบียบการแต่งกายของผู้ปฏิบัติ



ปรับปรุง ณ วันที่ 2023-04-04