วันนี้วันพระ เป็นวันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น


วันนี้วันพระ เป็นวันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษา
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปี ขาล
.
ความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษา เกิดขึ้นจากครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจำพรรษาอยู่อารามรอบๆ พระนคร พระภิกษุเหล่านั้นเกรงจะเกิดความขัดแย้งกัน จนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกติกากันว่าจะประพฤติมูควัตร คือ การนิ่งไม่พูดจากันตลอดสามเดือน และได้ถือปฏิบัติกันมาตลอดทั้งพรรษา เมื่อถึงวันออกพรรษา พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แล้วกราบทูลเรื่องทั้งหมดให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้ว ปวารณากันใน ๓ ลักษณะ คือ ด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี
.
.
ดังนั้นในวันออกพรรษาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี แต่ถือกันคนละความหมาย คือ..
.
.
วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดของการอยู่จำพรรษา หมายถึง วันสุดท้ายที่ต้องอยู่จำพรรษาในแต่ละสถานที่ และพระสงฆ์จะต้องอยู่ให้ครบอีกหนึ่งราตรีจึงจะครบถ้วนบริบูรณ์
.
.
วันมหาปวารณา คือ การทำปวารณาครั้งใหญ่ หมายถึง วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทั้งพระมหาเถระ พระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยจิตที่เมตตา ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันดีงามของคณะสงฆ์ โดยมีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาบาลีว่า
.
.
"สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ
ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา
วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
ปัสสันโต ปฏิกกะริสสามิ"
.
.
แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลายได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย ว่า...กระผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"
.
.
การอยู่จำพรรษารวมกันตลอดระยะเวลา ๓ เดือน อาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือมองไม่เห็น เสมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผงจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผงนั้นได้ จึงจำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดู หรือต้องใช้กระจกส่องดู เ
.
.
พราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงใช้วิธีการปวารณาให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เพื่อพระภิกษุที่ได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟังเรื่องไม่ดีไม่งามอะไรก็ตาม ให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้ คือ พระผู้มีพรรษามากก็กล่าวตักเตือนพระผู้มีพรรษาน้อยได้ และพระผู้มีพรรษาน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อบกพร่องของพระผู้มีพรรษามากได้เช่นกัน โดยที่พระผู้มีพรรษามากท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง
.
.
การกล่าวปวารณาเท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ก่อนที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง การปวารณาที่พระภิกษุทั้งหลายกระทำนี้เป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวังไม่ให้ประมาท ไม่ยอมให้สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย
.
.
การปวารณาจึงเป็นการกระทำเพื่อหวังความเจริญ เพื่อเกิดประโยชน์ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม โดยเพื่อนสหธรรมิกด้วยกันเองตักเตือนกันเองได้โดยธรรม
.
.
ดังนั้น เมื่อวันมหาปวารณาเวียนมาถึง พวกเราพุทธบริษัท ๔ จะได้ถือโอกาสนี้ปฏิบัติตามธรรมเนียมอันดีงามนี้ โดยการปวารณากับบุคคลข้างเคียงให้สามารถว่ากล่าวตักเตือนได้ เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในการสร้างบารมีต่อไปในภายภาคหน้า
.
.
#วันมหาปวารณา
#วันออกพรรษา
#สร้างบุญพูนกุศลเสริมมงคลชีวิต
#วัดพระธรรมจักร
#พุทธวิหาร


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08