จิตที่มีจิตอื่นยิ่งกว่าคืออย่างไร.ในภาคสนามหรือภาคการปฏิบัติ อาจจะมีอะไรที่ปรากฏให้เห็นนอกเหนือจากรายละเอียดที่กล่าวแล้วนั้นตัวอย่าง


จิตที่มีจิตอื่นยิ่งกว่าคืออย่างไร
.
ในภาคสนามหรือภาคการปฏิบัติ
อาจจะมีอะไรที่ปรากฏให้เห็น
นอกเหนือจากรายละเอียดที่กล่าวแล้วนั้น
ตัวอย่าง เช่น มีรูปปรมัตถ์ คือ
อาการเห็นเกิดขึ้นพร้อมๆ กันหลายๆอาการ
.
ในมหาปัฏฐานกล่าวว่า "อารมฺมณปจฺจโย"
ทั้งหมดเป็นอารมณ์ที่เป็นปัจจัย
ซึ่งจิตไปเสวยไปรับรู้พร้อมกัน
ในเวลาเดียวเหมือนกันหมด
อย่างอาการเห็นนี่
จิตไปเสวยไปรับรู้ได้ทุกอารมณ์
แต่อารมณ์ไหนจะเป็นบริกรรมนิมิต
ที่เป็นอุคคหนิมิต
.
เมื่อเป็นดังนี้ก็ต้องเลือกดูว่าอารมณ์ไหน
"อธิปติปจฺจโย" เป็นอธิบดี
อารมณ์ไหนเด่นเป็นใหญ่ยิ่งกว่าอารมณ์อื่นๆ
อารมณ์นั้นนั่นแหละเป็นบริกรรมนิมิต
ที่เป็นอุคคหนิมิต
.
เป็นปัจจัยที่ใช้ในการสร้างคำภาวนา
ที่เรียกว่า "บริกรรมภาวนา"
ใช้เป็นคำกำหนดได้อาการเห็น
.
นอกนั้นที่เหลือเป็น
"สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ"
เป็นจิตที่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
ส่วนอาการเห็นไหนเด่น
มีพลังดึงดูดจิตให้จับได้ดีกว่า
จิตจะเสวยอาการนั้น
.
เด่นถึงขั้นเป็นอธิบดีลักษณะเป็นอย่างไร
"อนนฺตรปจฺจโย" มีกำลังมาก
คือเห็นชัดมากกว่าเพื่อน
มีความเด่นเป็นปัจจัย
.
หรือ "สมนนฺตรปจฺจโย"
สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับ
ความเด่นเห็นชัดทั้งหลาย
อันไหนรูปร่างลักษณะที่แปลกประหลาด
ผิดไปจากหมู่พวก
นี่จะเป็นปัจจัยให้จิตสนใจ
.
"สหชาตปจฺจโย"
สิ่งที่เกิดมาพร้อมกับความประหลาด
เช่น สีสันที่แปลกออกไป เป็นต้น
ทำให้เด่นเป็นอธิบดีได้
หรือ เช่นกำหนดพอง-ยุบ อยู่
เสียงเกิดขึ้นรับรู้ได้
.
แสดงว่า เสียงเด่นกว่า เป็นปัจจุบัน
พอง-ยุบเป็นอดีตไปแล้ว
ให้กำหนดที่เสียง
กำหนดเสียงอยู่เกิดรำคาญเสียง
ในขณะนั้นถึงเสียงจะมีอยู่
แต่รำคาญที่เกิดทีหลังนั้นเด่นกว่า
ต้องกำหนดที่รำคาญ
.
ไม่ว่าจะกำหนดอะไรต้อง
"ปชานาติ" กำหนดต้องรู ้
อย่างถี่ถ้วนทั่วถึง ละเอียดลออ
รอบคอบ โดยตลอด
ปริกรรมนิมิตตารมณ์
ที่ปรากฏเป็นอุคคหนิมิตขณะนั้น
.
ธรรมเทศนาโดย
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08