การพัฒนาสมาธิให้ถึงฌานเพียรอย่างไรจึงถูกต้อง..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถึงสมาธิที่ถูกต้องในสัมมาสมาธิซึ่งเป็นสมาธิที่เกิดด้วยอำนาจมรรค


การพัฒนาสมาธิให้ถึงฌานเพียรอย่างไรจึงถูกต้อง.
.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสถึงสมาธิที่ถูกต้อง
ในสัมมาสมาธิซึ่งเป็นสมาธิที่เกิดด้วยอำนาจมรรค ๘ ว่า
สามารถได้ถึงจตุตถฌาน ฌานที่ ๔
ซึ่งเป็นฌานที่มีกำลังสมาธิมากที่สุด
.
สมาธินทรีย์คือการพัฒนาสมาธิได้ถึงแก่สุด
การจะพัฒนาให้ได้ผลดังกล่าว ผู้บำเพ็ญต้อง
.
ฉนฺทํชเนติ คือมีฉันทะเต็มใจกำหนดอย่างเต็มที่
ไม่ผ่อนหรือหย่อนศรัทธา
.
วายามติ คือต้องประคองความเพียรไว้ไม่ให้ตกต่ำลง
.
วิริยํ อารภติ คือต้องปรารภความเพียร
ต้องพัฒนาความเพียรให้ยิ่งๆ ขึ้นไปถึงขีดสุด
.
จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ คือ
จิตหรือความรู้สึกหรือทุกข์อยู่ที่ไหน
กำหนดทั้นั้นนั่นเอง
.
ตัวอย่าง เช่น
รู้สึกพอง-กำหนดที่พองว่า-พองหนอ
รู้สึกยุบ-กำหนดที่ยุบว่า-ยุบหนอ
รู้สึกขวาย่าง-กำหนดที่ขวาย่างว่า-ขวาย่างหนอ
รู้สึกซ้ายย่าง-กำหนดที่ซ้ายย่างว่า-ซ้ายย่างหนอ
รู้สึกเหยียด-กำหนดที่เหยียดว่า-เหยียดหนอ
รู้สึกคู้-กำหนดที่คู้ว่า-คู้หนอ
รู้สึกเคี้ยว-กำหนดที่เคี้ยวว่า-เคี้ยวหนอ
รู้สึกกลืน-กำหนดที่กลืนว่า-กลืนหนอ เป็นต้น
.
อารมณ์ที่เป็นกลางเหล่านี้
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งปรากฏเป็นอุคหนิมิตขึ้นมา
กำหนดอารมณ์นั้นให้ติดๆ กันอย่างนี้
.
นอกจากจะเป็นการป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้นแล้ว
ยังเป็นการรักษากุศลที่เราได้ไว้แล้วไม่ให้เสีย
และยังเป็นการพัฒนาให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปอีก
.
วิปัสสนาญาณ อินทรีย์ โพชฌงค์ใดที่เกิดแล้ว ส่วนใดยังไม่แก่ก็จะแก่
ที่แก่แล้วจะบริบูรณ์เต็มเปี่ยมเต็มที่อย่างไม่มีข้อบกพร่อง
หรือชั้นสมาธิใดก็ตามที่ยังไม่เกิดก็จะเกิด
ที่เกิดแล้วก็จะพัฒนาไปถึงแก่สูงสุด
เข้าถึงฌานมีปฐมฌาน ทุติยฌาน เป็นต้น
.
สมาธิซึ่งอยู่ในส่วนหนึ่งของอินทรีย์เมื่อแก่แล้ว
จิตจะสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อจิตสะอาดบริสุทธิ์มากเพียงพอ
และปรับอินทรีย์ให้สมดุลกันได้ดีแล้ว
ก็จะสามารถรองรับโลกุตตรมรรคได้
โลกุตตรมรรคก็จะปรากฏ
.
ผลสูงสุดของวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ มรรค ผล นิพพาน
มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น จะปรากฏได้ดังนี้
.
เพราะฉะนั้นถ้าเรามีความเพียรมุ่งมั่นอยู่อย่างนี้
ตั้งใจทำอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาวายาโม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลเรียกว่า "เพียรถูกต้อง"
.
ด้วยเหตุนั้นเพียรอย่างอื่นน่าจะไม่เข้าตำรา
อย่างเพียรนั่งเยอะๆ ได้หลายๆ บัลลังก์ นั่งนานๆ
เพียรทรมานตนให้ลำบาก
แต่ไม่ได้พัฒนาวิปัสสนาญาณ
ไม่ได้ปรับอินทรีย์
.
จิตก็คิดวิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ไปทั่ว
แสดงว่าเพียรไม่ถูก
เพียรถูกต้อง..ต้องมีความสงบเกิดขึ้น
และเพียรเพื่อพัฒนามรรค ๘
เพื่อความสงบให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
.
"สัมมาวายามะ"
โดยนัยอธิบายอย่างสุดปัญญาของผู้บรรยาย
ก็คงได้โดยประมาณเท่านี้แล
.
ธรรมเทศนาจาก
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ
ประธานสงฆ์วัดพระธรรมจักร


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08