การละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว..ต้องทำอย่างไร.ในเพียรถูกต้องข้อที่


การละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว..ต้องทำอย่างไร
.
ในเพียรถูกต้องข้อที่ ๒ นี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"อุปฺปนฺนานํ ปาปกานํ อกุสลานํ ธมฺมานํ ปหานาย"
เพื่อการละบาปอกุศลที่เกิดแล้ว
.
บาปอกุศลโดยสรุป คือ
กลุ่มงานที่เป็นมิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ
ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในครั้งการ
ประชุมจาตุรงคสันนิบาต ที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์
.
ตอนหนึ่งว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ"
การไม่ทำบาปด้วยประการทั้งปวง
บาปนั้นภาษาพระมหาเรียกว่า"กรรมอันลามก"
.
กรรมอันลามก คือ การทำให้เกิดความสกปรก
"สพฺพ" แปลว่า ทั้งปวง
หมายความว่าไม่ควรทำบาปทุกประการนั่นแหละ
.
สำหรับผู้ฝึกกัมมัฏฐานใหม่ๆ
สมาธิจิตมีกำลังที่น้อย
จิตจะอยู่กับอารมณ์ที่เป็นกามาวจรกุศล
มีพอง-ยุบ เป็นต้น ได้ไม่นาน
.
เพราะธรรมชาติของจิตไม่อยู่ในอารมณ์เดียวนานๆ
ชอบซัดส่ายไปหาอารมณ์ใหม่อยู่เรื่อยๆ
เผลอเมื่อไรก็ไปกินกิเลสแล้วใช่ไหม
เมื่อกิเลสเข้ามาแล้วจะทำอย่างไร
.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"วิวิจฺเจว กาเมหิ"
เมื่อกาม มีความยินดี พอใจ ชอบใจ
สุขใจ ถูกใจ อยากได้ อยากเป็น เป็นต้น
เข้ามา เราต้องพรากกิเลสกามเหล่านี้
ออกไปให้หมดด้วยมรรค ๘
.
สังกัปปะจึงจะเป็นเนกขัมมสัมมาสังกัปปะ
"วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ"
พรากอกุศลทั้งสิ้นด้วยอกุศลมีพยาบาท
ได้แก่หงุดหงิด รำคาญ โกรธ โมโห เป็นต้น
.
ถีนมิทธะ ได้แก่ ท้อแท้ ท้อถอย ขี้เกียจ
ขี้คร้าน เหนื่อยหน่าย เป็นต้น
.
อุทธัจจกุกกุจจะ ได้แก่ คิด นึก พิจารณา
วิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ เป็นต้น
.
วิจิกิจฉา ได้แก่ ลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ เงอะๆ งะๆ
เซ่อๆ ซ่าๆ หาเหตุผล จ้อง คอย รอ เป็นต้น
.
สิ่งเหล่านี้ต้องพรากออกไปให้หมดด้วยมรรค ๘
กิเลสต่างๆ ทั้งหลายเปรียบเหมือนฝุ่นละออง
ที่พอกปิดบังกระจกคือจิตไว้
เมื่อส่องดูเงาหน้าคือรูปาวจรกุศล
หรือที่ทรงเรียกว่า ?รูป? ที่กระจก (จิต)
.
จะมีแต่มลทินกิเลสมากมายพอกอยู่
เงาหน้าในกระจก คือ รูปซึ่งปรารถนาจะมอง
จึงไม่อาจมองเห็นเงาหน้าหรือรูปในที่นี้
ได้แก่อาการเห็น อาการได้ยิน
อาการพอง อาการยุบ เป็นต้น
.
ดังนั้น จำเป็นต้องขจัดละอองฝุ่น
คือกิเลสเหล่านี้ให้หมดก่อน ต้องเช็ดออก
.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
"วิโมจยํ จิตฺตํ สิกฺขติ"
ต้องศึกษาวิธีการพรากกิเลส วิธีล้างบาป
วิธีไถ่บาป วิธีชำระบาป วิธีลอยบาป
วิธีตัดบาปกรรมทิ้งออกไปด้วยมรรค ๘
บาปอกุศลทั้งหลายเหล่านั้นจึงหมดไป
.
พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาอานนท์ อดีตพุทธอุปัฏฐาก
ได้แนะนำเทคนิคการจัดการ
เพื่อดับบาปอกุศลตรงนี้ไว้
มีปรากฏจารึกอยู่ในปฏิสัมภิทามรรค ขุททกนิกาย
เป็นการเสริมพุทธดำรัสตรงนี้ตอนหนึ่งว่า
.
โส สมโย อาวุโส ยนฺตํ จิตฺตํ อชฺฌตฺตญฺเญว
สนฺติฏฺฐติ สนฺนิสีทติ เอโกทิ โหติ สมาธิยติ ตสฺส
มคฺโค สญฺชายติ"
.
"อาวุโส ในเวลานั้น
ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์นั้น จิตใดที่ฟุ้ง
ยังจิตนั้นให้อยู่ภายในความฟุ้งนั้นนั่นเทียว
ให้ตั้งวางอยู่ตรงนั้น ให้หยุดอยู่แค่นั้น
.
ย่อมทำให้เป็นอารมณ์เดียวขึ้น
ทำให้อาการฟุ้งที่มีอยู่สงบระงับไป
มรรค ๘ ย่อมเกิดพร้อม
ขณะความสงบระงับเกิดแก่ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์นั้น?
นี้คือเพียรถูกต้องข้อที่ ๒
.
ธรรมเทศนาจาก
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08