วิธีละมิจฉาอาชีวะและทำให้สัมมาอาชีวะเกิด มีลำดับการทำงานดังต่อไปนี้..ตัวอย่าง


วิธีละมิจฉาอาชีวะและทำให้สัมมาอาชีวะเกิด
มีลำดับการทำงานดังต่อไปนี้.
.
ตัวอย่าง ขณะกำหนดพอง-ยุบ อยู่
?อาการพอใจ? ปรากฏขึ้นเป็นปริกรรมนิมิต
(เครื่องหมายที่ใช้ในการบริกรรม)
ที่เป็นอุคคหนิมิต เพราะปรากฏจริงขณะนั้น
พอใจเป็นกาม เห็นอาการพอใจ...เป็นกามมิจฉาสังกัปปะ
สังกัปปะเป็นปัจจัยของวาจา
.
ดังนั้นวาจาที่ใช้เป็น"ปริกรรมภาวนา"
ต้องเป็น ?พอใจหนอ?
สัมมาวาจาจึงเกิดขึ้น
ในขณะที่ภาวนาว่าพอใจหนอนั้น
.
การเพ่ง เกร็ง บังคับ เพื่อให้พอใจหาย
ด้วยโทมนัส...ซึ่งเป็นปาณาติปาต ต้องไม่มี
.
การเพ่ง เกร็ง บังคับเพื่อประคองรักษา
ด้วยอภิชฌา...เป็นกาเมสุมิจฉาจารต้องไม่มี
.
มีสติตามกำหนดรู้จิตที่กำลังท่องเที่ยว
ตามพื้นที่ ?อาการพอใจ? อย่างถี่ถ้วน
ตั้งแต่เริ่มรู้สึกพอใจไปจนสิ้นสุด
อย่างนี้มรรค ๘ จะเกิด
พร้อมกับประหารความพอใจให้ดับลง
.
กามจึงถูกพรากออกไปเป็นสัมมาสังกัปปะ
ความสกปรกเศร้าหมองขุ่นมัวเพราะกาม
ความพอใจหมดไป ความสะอาดผ่องใส
เพราะปราศจากกามเข้ามาแทนที่
.
การดำรงชีวืตอย่างนี้เป็น
"มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย "
ละการดำรงอยู่ในทางที่ผิด
.
สมฺมาอาชีเวน ชีวิกํ กปฺเปติ
สำเร็จความเป็นอยู่
ด้วยการดำรงอยู่อย่างถูกต้อง
.
เมื่อกามคือ ?พอใจ? ดับแล้ว
ให้กลับมากำหนดที่พอง-ยุบ ต่อ
ในเวลาใดก็ตามพอง-ยุบเบาลง
ใจอยากให้พอง-ยุบ อยู่คงที่
ในขณะนั้นพอง-ยุบก็เป็นอดีตไปแล้ว
ความอยากได้พอง-ยุบคงที่ เป็นปัจจุบัน
เป็นปริกรรมนิมิตที่เป็น"อุคคหนิมิต"
เพราะเป็นอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นจริงในขณะนั้น
.
อาการอยากได้ปรากฏอยู่
ตรงนั้นสังกัปปะเกิด(การตรึกตามอาการอยากได้)
เป็นวิหิงสามิจฉาสังกัปปะ
ความเบียดเบียนเกิดเป็นปัจจัยของวาจา
บริกรรมวาจาจึงต้องเป็น ?อยากได้หนอ? เป็นสัมมาวาจา
.
ในขณะภาวนา สติตามรู้พื้นที่ของอาการอยากได้
ไปพร้อมๆ กับจิต ตั้งแต่เริ่มรู้สึกอยากได้
ไปจนสิ้นสุด คำกำหนดบริบูรณ์
เป็น"ปฏิภาคนิมิต"(คำกำหนดกับอาการพอดีกัน)
.
กำหนดอย่างนี้มรรค ๘ เกิด
ทำให้ประหาร "วิหิงสามิจฉาสังกัปปะ" ดับลง
เป็นสัมมาสังกัปปะ วาจาเป็นสัมมาวาจา
กัมมันตะ(การงานที่ทำ)เป็นสัมมากัมมันตะ
.
มิจฉาอาชีวะ...ความขุ่นมัวเศร้าหมอง...เพราะวิหิงสา
อาการอยากได้..ซึ่งเป็นความเบียดเบียนหมดไป
ความสะอาดผ่องใสของจิตเกิดขึ้นมาแทนที่
เป็นสัมมาอาชีวะ(อาชีพที่ถูกต้อง)
.
เมื่อเพ่ง เกร็ง บังคับ ประคองพอง-ยุบไม่ให้เบาลง
ด้วยอำนาจอภิชฌา คือ
ความอยากได้พอง-ยุบเกิดขึ้น
.
ปริกรรมนิมิตที่ปรากฏเป็นอุคคหนิมิต
ในขณะนั้นคือการประคอง เห็นอาการประคอง
แสดงว่าสังกัปปะเกิดแล้ว
เป็นมิจฉาสังกัปปะ
แต่เป็นส่วนของกายกรรม(การกระทำทางกาย)
.
เมื่อสังกัปปะเป็นปัจจัยของวาจา
ดังนั้น"ปริกรรมภาวนา"(คำที่ใช้ในการกำหนด)
จึงต้องเป็น ?ประคองหนอ? จึงจะถูกต้อง
ตรงเป็นสัมมาวาจา (วาจาถูกต้อง)
.
ถ้ากำหนดอยู่ที่อยากได้หนอ
หรือพองหนอ-ยุบหนอไม่ถูกต้อง
เพราะเป็นมิจฉาวาจา มรรค ๘ ไม่เกิด
.
ขณะที่กำหนดสติตามรู้ทั่วพื้นที่ของอาการประคอง
ตามจิตไปตั้งแต่เริ่มประคองจนสิ้นสุด
แต่เนื่องจากประคองเป็นมิจฉากัมมันตะ
ซึ่งเป็นส่วนของกายกรรม (การทำงานทางทายที่ไม่ถูกต้อง)
.
เวลากำหนดต้องคลายการประคองไป
พร้อมกับการกำหนดด้วย
มรรค ๘ จึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการรักษาพื้นที่การประคอง
ซึ่งเป็นการเพ่ง เกร็ง บังคับด้วยอภิชฌา
เพื่อขจัดอภิชฌาซึ่งเป็นกาเมสุมิจฉาจาร
เป็นมิจฉากัมมันตะให้หายไปด้วยมรรค ๘
กลายเป็นสัมมากัมมันตะเกิดขึ้น
.
ความขุ่นมัวเศร้าหมองอันเกิดจากอภิชฌา
ซึ่งเป็นมิจฉาชีพเพราะ"อตฺตกิลมถานุโยโค" จะหายไป
เป็น "มิจฺฉาอาชีวํ ปหาย"
ละการดำรงอยู่ในทางที่ผิด
.
กลายมาเป็นมัชฌิมา จิตบริสุทธิ์ กายบริสุทธิ์
เป็น สมฺมาอาชีเวน ชีวิกํ กปฺเปติ
สำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยการดำรงอยู่อย่างถูกต้อง
.
ธรรมเทศนาจาก
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08