การละมิจฉาชีพในภาคกัมมัฏฐาน..ทำอย่างไร.ตัวอย่าง..ในตอนแรกเรากำหนดพอง-ยุบอยู่


การละมิจฉาชีพในภาคกัมมัฏฐาน..ทำอย่างไร
.
ตัวอย่าง..ในตอนแรกเรากำหนดพอง-ยุบอยู่
อาการพอง อาการยุบ เป็นปริกรรมนิมิต
หมายถึง เครื่องหมายที่จะใช้บริกรรม
.
เป็นอุคคหนิมิต หมายถึง
เครื่องหมายในการบริกรรมที่ปรากฏจริงอยู่ขณะนั้น
ถ้าไม่กำหนด โมหะเข้าอยู่
มรรค ๘ ไม่เกิดเป็นอทินนาทาน
.
ถ้ากำหนดรู้อาการพอง อาการยุบ
ตรงนั้นเป็นสังกัปปะ
ซึ่งเป็นปัจจัยให้ใช้วาจาภาวนาถูกต้อง
.
คำภาวนาจึงว่า พองหนอ หรือยุบหนอ
เป็น "ปริกรรมภาวนา" ตรงตาม
"ปริกรรมนิมิต" ที่เกิดขึ้น
ซึ่งเป็น "อุคคหนิมิต" จริง
.
ขณะนั้นภาวนาพร้อมกับการตามรู้พองตลอดพื้นที่
ตั้งแต่เริ่มพองจนพองหาย
ยุบเกิดก็กำหนดยุบหนอ
ตามรู้ยุบพร้อมกับขณะกำหนดไปเช่นเดียวกับพอง
.
การกำหนดอย่างนี้มรรค ๘ เกิด
และทำหน้าที่รักษาพื้นที่ของพอง-ยุบให้สะอาด
พร้อมกับป้องกันพื้นที่พอง-ยุบไม่ให้สกปรก
ไปพร้อมกันด้วย
.
การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ที่พอง-ยุบ
จึงเป็นสัมมาอาชีวะ
เพราะความสะอาดปรากฏ
แก่จิตตลอดทั้งวิถีจิต
.
ต่อมาในขณะกำหนดพอง-ยุบ เกิดความประมาท
มีความ ?พอใจ? พอง-ยุบแทรกขึ้นมา
ทำให้กามเกิดขึ้น เป็นกามมิจฉาสังกัปปะ
.
เมื่อพอง-ยุบเบาลง อยากให้พอง-ยุบคงอยู่
จึงประคองพอง-ยุบไว้
ป้องกันไม่ให้พิง-ยุบเบาลงไปอีก
.
อยากให้พอง-ยุบคงอยู่ เป็นวิหิงสามิจฉาสังกัปปะ
ประคองพอง-ยุบไว้ วาจาเป็น "ผรุสามิจฉาวาจา"
กัมมันตะ(การงานที่ทำ)เป็นกาเมสุมิจฉาจาร
.
มิจฉากัมมันตะ จิตสกปรกขุ่นมัวเศร้าหมอง
ด้วยกามตัณหา ด้วยภวตัณหา
.
วาจาสกปรก..ด้วยผรุสาวาจา
กายสกปรก...ด้วยเพ่ง เกร็ง บังคับ ประคอง
ด้วยอำนาจอภิชฌา เป็นกาเมสุมิจฉาจาร
ปาณาติบาต และอทินนาทานอยู่
.
ทำกัมมัฏฐานกำหนดพองหนอ-ยุบหนออยู่
มรรค ๘ ไม่เกิด เป็นมิจฉาอาชีวะ ควรงดเว้น
แล้วทำให้สัมมาอาชีวะเกิดด้วยมรรค ๘
คือกำหนดให้หายไปทั้งหมด
.
ธรรมเทศนาจาก
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08