ปาณาติปาตา เวรมณี คืออย่างไร?.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากเจตนาฆ่า


ปาณาติปาตา เวรมณี คืออย่างไร?
.
ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากเจตนาฆ่า เช่น
ปวดเข้ามานี่ ชอบไหม พอไม่ชอบก็จะเพ่ง เกร็ง บังคับ
ให้ปวดหาย
.
การบังคับให้ปวดหายนี่เพราะอะไร
เพราะโทมนัส น้อยใจ เสียใจ
ที่ปวดซึ่งเป็นสิ่งที่เราชังมันเข้ามา
.
ก็เลย เพ่ง เกร็ง บังคับ ใส่กำลังไปที่ปวดใช่ไหม
เปรียบเหมือนเวลาชกมวยกับกระจก
แทนที่จะชกไม่ให้โดนกระจก
.
ตอนนี้เป็นไง ชักเบื่อชกแล้วอยากจะให้เงาหาย
ชกซะกระจกแตกเลยใช่ไหม
เวลากำหนดปวดเหมือนกัน
พอไปเพ่ง เกร็ง เดี๋ยวปวดหัว เดี๋ยวแน่นหน้าอก
จิปาถะ ต่อไปก็หูแว่ว ตาลาย เห็นอะไรมั่วไปหมดเลย
เพราะระบบประสาทถูกบังคับ
.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
ในโอวาทปาติโมกข์คาถาแรกครึ่งหลังว่า
"น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต"
แปลความว่า..บรรพชิตคือผู้งดเว้น
ต้องไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
จึงมีความสงบ
.
ถ้ายังฆ่ายังเบียดเบียนเขาอยู่ ความสงบไม่มี
เมื่อปวดปรากฏเราชังมัน
กำหนดไม่ทันเลยเพ่งจะให้มันหาย
ขณะเริ่มเพ่งนี่ฟุ้งหรือยัง
ใจหนึ่งก็อยู่ที่เพ่งที่บังคับนั่นแหละ
.
แต่อีกใจหนึ่งจะอยู่ที่ปวด กลายเป็นสองอารมณ์
ตรงนี่ฟุ้งแล้ว ไม่สงบแล้ว
ถึงในใจจะภาวนาว่า ?ปวดหนอ ปวดหนอ?
แต่เป็นสองอารมณ์อยู่
.
คำพูดที่ใช้ภาวนาเป็น ปิสุณา วาจา
พูดส่อเสียด คือทำให้เป็นสองอารมณ์
ไม่ใช่ "เอโกทิภาวํ" เป็นอารมณ์เดี่ยว
อารมณ์เดียว ตามที่คัมภีร์สั่งไว้
ดังนั้นมรรค ๘ ไม่เกิด นี้อย่างหนึ่ง
.
เมื่อเพ่งอยากให้มันหาย
กัมมันตะการกระทำก็...เป็นปาณาติบาต
เจตนาฆ่าประหัตประหารปวด...เป็นมิจฉากัมมันตะ
วาจาที่ใช้ก็...เป็นผรุสา คำหยาบครูดสีปวด
ตรงนั้นเป็นมิจฉาวาจา
.
ถึงวาจาจะกำหนดได้ตรงตามสังกัปปะ
แต่มรรค ๘ ก็ไม่อาจเกิดได้ ฟุ้งไม่หาย
.
ผู้ต้องการความสงบ
จึงต้อง "ปาณาติปาตา เวรมณี"
เว้นการฆ่า การเบียดเบียน
.
วาจาก็ต้อง ผรุสาย วาจาย เวรมณี
เว้นจากคำหยาบ ใช้ปริกรรมภาวนาให้ตรง
.
ในที่นี้ได้แก่ เพ่งก็กำหนดว่า เพ่งหนอ
เกร็งก็กำหนดว่า เกร็งหนอ
บังคับก็กำหนดว่า บังคับหนอ
.
เนื่องจากเป็นกัมมันตะการงานทางกาย
ในขณะที่กำหนด ผู้กำหนดต้องคลายอาการเพ่ง
เกร็ง หรือบังคับด้วยตนเองไปพร้อมกัน
มรรค ๘ เกิดขึ้นทำลายโทมนัส
พร้อมกับการคลายเพ่ง เกร็ง หรือบังคับนั้น
ฟุ้งกับเพ่ง เกร็ง หรือบังคับ เป็นต้น
ก็จะดับหายไปพร้อมกัน
.
ธรรมเทศนาจาก
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08