ปิสุณา วาจา เป็นอย่างไร?.เป็นเจตนาพูดส่อเสียด คือ เป็นเจตนาพูดที่ทำให้แยกออกเป็นสองอารมณ์


ปิสุณา วาจา เป็นอย่างไร?
.
เป็นเจตนาพูดส่อเสียด คือ เป็นเจตนาพูด
ที่ทำให้แยกออกเป็นสองอารมณ์ สามอารมณ์
เช่น เรากำลังเดินอยู่ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
.
อาการเดินอยู่ที่เท้า
ความรู้สึกหรือจิตจับอยู่ที่การเคลื่อนของเท้า
สติตามรู้อยู่ที่การเคลื่อนของเท้า อย่างนี้
กำหนดตามหรือภาวนาตามแล้วมรรค ๘ เกิด
.
และในขณะที่เดินอยู่นั้น
ทันทีทันใดเกิดมีเสียงปรากฏขึ้น
ใจอยู่ที่ไหน? ใจอยู่ที่เสียง.
อาการได้ยินอยู่ที่ไหน? อยู่ที่เสียงนั่น.
ความรู้สึกได้ยินอยู่ที่ไหน? ก็อยู่ที่เสียง.
.
แสดงว่าสังกัปปะอยู่ที่เสียง
สติอยู่ตรงเสียงนั้น
แต่เรากลับห่วงการเดินไม่สนใจเสียง
เราสนใจที่ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
.
ลากมาที่ขาทั้งๆ ที่ขณะนั้นยังได้ยินอยู่
เป็นสองอารมณ์ ทันทีเลยใช่ไหม
แบ่งออกเป็นสองพวกแล้วใช่ไหม
ทั้งๆที่ใจอยู่ที่เสียง แต่ลากมาที่ขานี่
ไม่มีสมาธิ แบบนี้มรรคไม่เกิด
.
ถ้าเสียงมาต้องย้ายไปกำหนดที่เสียงทันที
ปล่อยจากเท้าเลยไม่ต้องสนใจเท้า
ต้องกำหนดได้ยินหนอ
ให้ทันตอนที่เสียงนั้นเริ่มดังขึ้น
เสียงเงียบแล้วค่อยกลับมาที่เท้า
.
อย่างนี้จึงจะเป็นทีละอารมณ์ เป็นสัมมาวาจา
"ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี"
เว้นจากเจตนาใช้คำส่อเสียด เป็นปริกรรมภาวนา
ก็จะตรงตามสัมมาสังกัปปะ
กำหนดหรือภาวนาแล้ว
ทำให้มรรค ๘ เกิดได้
.
ธรรมเทศนาจาก
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08