ปรมัตถ์ คืออย่างไร .ยกตัวอย่างเช่น เหยียดหนออาการเหยียดหายไปหรือยัง?


ปรมัตถ์ คืออย่างไร
.
ยกตัวอย่างเช่น เหยียดหนอ
อาการเหยียดหายไปหรือยัง? หายไปแล้ว..
แขนยังเหยียดอยู่ไหม? แขนยังเหยียดอยู่..
รูปบัญญัติยังเหยียดอยู่
แต่รูปปรมัตถ์คืออาการเคลื่อนหมดหรือยัง? หมดไปแล้ว..
.
ในเมื่ออาการเคลื่อนหมดไปแล้ว
ตอนนี้อาการอะไรปรากฏอยู่? อาการนิ่งใช่ไหม..
หาอาการเคลื่อนเจอไหม
ไปแอบอยู่ตรงไหน ไม่มีแล้วใช่ไหม
.
ดับคือดับแบบนี้ ดับเลย
เหมือนไฟดับหาเจอไหม ไม่เจอ
อย่างนี้บัณฑิตเรียกว่า ?ดับ?
สามารถพิสูจน์เห็นได้
ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเป็นปรมัตถ์
แล้วเหมาเอาว่าชื่อหรือคำเรียกชื่อเป็นบัญญัติ
.
เอามะม่วงไปเทียบกับทุเรียนมันจะเทียบกันได้อย่างไร
คนละเรื่องกันนะ มะม่วงต้องเทียบกับมะม่วงใช่ไหม
.
รูปบัญญัติต้องเทียบกับรูปปรมัตถ์
นามบัญญัติต้องเทียบกับนามปรมัตถ์จึงจะสมกัน
ไม่ใช่เอาหมูไปเทียบกับช้าง
จะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกันได้อย่างไร
.
นั่นคือทำไปด้วยความเข้าใจผิด รู้จริงๆไม่มี
พวกเราซึ่งเป็นนักศึกษา
เมื่ออ่านตำราหรือฟังครูบาอาจารย์
ต้องรู้จักใช้ปัญญาตน เหตุผล และพื้นฐานที่มี
อย่างถูกต้อง วิเคราะห์เอาเองโดยธรรม
.
ไม่ควรใช้ความเห็นหรือความชอบส่วนตน
เป็นเครื่องตัดสิน เพราะเราจะรู้ได้อย่างไร
ว่าข้อมูลที่ได้นั้นตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนหรือไม่
.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน"เกสปุตตสูตร"
ตอนหนึ่งว่า "มา ทิฏฺฐิ นิชฺฌานกฺขนฺติยา"
อย่าพึงเชื่อแม้ว่าตรงกับความเห็นของครูบาอาจารย์เรา
.
"มา ภพฺพรูปตาย"
อย่าพึงเชื่อเพียงแค่มีลักษณะน่าเชื่อถือได้
.
"มา สมโณ โน ครูติ"
อย่าพึงเชื่อแม้สมณะที่สอนเป็นครูเรา.
.
หลวงพ่อชัชวาล ชินสโภ
อธิบดีสงฆ์แห่งพุทธวิหาร
ศูนย์กลางการศึกษาวิปัสสนาธุระ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08