"การบำเพ็ญเพียรทางจิต"ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตนี้ มีหลักวิชาอยู่ว่า


"การบำเพ็ญเพียรทางจิต"

ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตนี้ มีหลักวิชาอยู่ว่า ถ้าเราทำให้สมาธิเกิดเพียงอย่างเดียว เราจะไม่เห็นสภาวจิต(จิตตวิสุทธิ) เปรียบเหมือนทำให้น้ำใสอย่างเดียว แต่แสงไม่สว่าง ย่อมมองไม่เห็นปลาที่อยู่ในน้ำนั้นฉันใด
.
สภาวจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้ามีแต่สมาธิซึ่งเปรียบเหมือนน้ำ ไม่มีวิริยะซึ่งเปรียบเหมือนแสงสว่าง ถึงแม้ว่าสภาวะหรือกิเลสจะมีอยู่จริงในขณะนั้น สติและปัญญาก็ไม่สามารถรู้เห็นได้
.
จึงมีความจำเป็นต้องปรับวิริยะ คือความเพียรทางจิตให้เพิ่มมากขึ้น จนถึงขีดสูงสุดจึงจะสามารถเห็นสภาวจิตได้ตลอดทั้งหมดและถี่ถ้วน
.
เมื่อเห็นสภาวจิตได้ ก็สามารถรู้ทันกิเลสที่มาพร้อมกับจิตได้ และสามารถพัฒนาจิตที่สกปรกขุ่นมัวเศร้าหมอง เพราะกิเลสให้หมดไปได้ ด้วยวิธีการทำให้มรรค ๘ เกิด เรียกว่าเริ่มรู้วิธีการดับกิเลส เพื่อตัดสังสารวัฏฏ์ให้ขาดลงได้เป็นครั้งแรก
.
กลุ่มปัญจวัคคีย์นั้นไม่รู้เท่าทันพระดำริ คิดเอาเองว่าเมื่อพระวรกายของพระองค์แข็งแรงดีแล้ว ก็จะทรงกลับมาอดอาหารใหม่ตามที่ตนแนะนำ แต่พอทรงแข็งแรงแล้ว เห็นพระองค์ยังคงเสวยอยู่อย่างเดิม ไม่มีทีท่าว่าจะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอีกต่อไป
.
จึงพากันคิดว่าทรงขาดความเพียร ความอดทนเสียแล้ว ขนาดอดข้าวเกือบตายยังไม่บรรลุเลย ตอนนี้กลับมาเสวยจนกระทั่งร่างกายเป็นปกติ แล้วจะบรรลุได้อย่างไร
.
เกิดความไม่พอใจ หมดความเลื่อมใส ขาดความเชื่อถือพากันหนีจากพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ระยะทางจากตำบลมหาโพธิไปถึง เมืองพาราณสี ประเมินกันว่าน่าจะราวๆสัก ๒๐๐ กว่า กิโลเมตรเห็นจะได้
.
พระธรรมจักรเทศนาฎีกา ตอนที่ : ๔
โดย พระครูภาวนาวิสุทธิคุณ วิ. (ชัชวาล ชินสโภ) พธ.บ ๓๕
อธิบดีสงฆ์ พุทธวิหาร ศูนย์กลางการศึกษาวิปัสสนาธุระ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08