ตอนที่ ๙ : ความเดิมจากตอนที่ ๘ ว่าด้วยลักษณะของอารมณ์ในส่วนที่เป็นปรมัตถ์


ตอนที่ ๙ : ความเดิมจากตอนที่ ๘ ว่าด้วยลักษณะของอารมณ์ในส่วนที่เป็นปรมัตถ์ กล่าวคือส่วนที่มีการเกิด การเสื่อม การดับ ได้แก่ส่วนที่ท่านเรียกว่า "อาการ"

๒) เวทนานุปัสสนา หมายถึงการตามเห็นธรรมารมณ์ พร้อมกับการทำให้มรรค 8 ในส่วนใดส่วนหนึ่งที่แฝงอยู่กับโผฏฐัพพะ ทั้งภายในหรือภายนอก หรือทั้งที่เป็นภายในและภายนอก จิตเสวยแล้วมีทั้งทุกข์ สุข และอทุกขมสุข วิถีจิตจะอยู่ที่โผฏฐัพพะ ผู้รับรู้จึงมีความรู้สึกเหมือนเกิดกับกาย มีอาการเจ็บ อาการปวด อาการมึน อาการชา อาการคัน อาการเมื่อย เป็นต้น เวทนานี้จัดเป็นอารมณ์รองทั้งหมด

๓) จิตตนุปัสสนา หมายถึงการตามเห็นธรรมารมณ์ พร้อมกับการทำให้มรรค ๘ ในส่วนที่เป็นจิต ได้แก่ ส่วนที่เป็น กิเลส นิวรณ์ อาสวะ ตัณหา สังสารวัฏต่างๆ เมื่อเกิดขึ้น จิตเสวยแล้วทำให้เกิดฟุ้งด้วยความหลงเป็นอุทธัจจะและวิจิกิจฉา มีทั้งโสมนัส คือจิตชอบ โทมนัส คือ จิตชัง และอัพยากตจิตเป็นกลาง อาการเหล่านี้เกิดขึ้นมากๆ แล้ว กิเลสหนา ปัญญาเสื่อม สมาธิเสีย ต้องทำลายด้วยมรรค ๘ จนวิมุตติความหลุดพ้นจากกิเลสเกิด เห็นอาการของกิเลสอกุศลทั้งหลายถูกทำลายด้วยมรรค ๘ จนวิมุตติความหลุดพ้นจากกิเลสเกิด เมื่อเห็นอาการของกิเลสอกุศลทั้งหลายถูกทำลายด้วยมรรค ๘ กิเลสหาย ปัญญาดี สมาธิมั่นคงเข้มแข็งพอเพียงที่จะรองรับวิปัสสนาญาณถึงชั้นสูง และโลกุตตรมรรคทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นแล้วทำลายสังโยชน์ ดับอนุสัยกิเลสให้สิ้นไป มรรคผลนิพพานจึงปรากฏขึ้นได้....ติดตามต่อตอนที่๑๐

#วิธีเลือกธรรม #วิธีเลือกครู #เพื่อวิปัสสนาขององค์พุทธะ
โดย พระครูภาวนาวิสุทธิคุณ วิ. (ชัชวาล ชินสโภ) พธ.บ ๓๕
อธิบดีสงฆ์ พุทธวิหาร ศูนย์กลางการศึกษาวิปัสสนาธุระ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08