ตอนที่ ๘ : ความเดิมจากตอนที่ ๗ ว่าด้วยลักษณะของอารมณ์ในส่วนที่เป็นปรมัตถ์คือส่วนที่


ตอนที่ ๘ : ความเดิมจากตอนที่ ๗ ว่าด้วยลักษณะของอารมณ์ในส่วนที่เป็นปรมัตถ์คือส่วนที่ มีการเกิด การเสื่อม การดับ ได้แก่ส่วนที่ท่านเรียกว่า ?อาการ?

๑) ถ้าเป็นกายานุปัสสนา การตามเห็นอาการกาย พร้อมกับการทำให้มรรค ๘ เกิด ได้แก่ อาการเหยียด อาการคู้ อาการถูก อาการโดน อาการกระทบ อาการเดิน อาการนั่ง อาการยืน อาการนอน อาการหลับ อาการลืม และอื่นๆ อีกมากมาย กายานุปัสสนานี้ ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน

ก. เป็นอารมณ์หลัก ถ้าเวลานั่งใช้ วาโยโผฏฺฐพฺพรูปํ
ลมหายใจกระทบรูป ซึ่งมีทั้งส่วนที่สอนอุคฆฏิตัญญู
กลุ่มบุคคลผู้มีปัญญาดีเยี่ยม เปรียบเหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว จะใช้จุดที่ลมหายใจกระทบโดยตรง ภาษาเราเรียกว่า ?หายใจเข้า-หายใจออก?

และส่วนที่สอนผู้มีปัญญารองๆลงมา ทรงแนะนำให้ใช้ผลจากการกระทบแทน เรียกว่าอานาปานสติโดยอ้อม โดยปล่อยให้ลมหายใจกระทบกับผนังปอดด้านใน ผนังปอดด้านนอกจะกระทบกับอวัยวะภายใน จนกระทบถึงผนังท้องด้านใน ทำให้ผนังท้องด้านนอกเคลื่อนออกมา เรียกเป็นภาษาไทยเราว่า ?พอง-ยุบ?

ในบางเวลาถ้าจุดกระทบที่อาการหายใจเข้าออก หรือที่อาการพอง-ยุบไม่สามารถรู้สึกได้ อริยาจารย์ทั้งหลายแต่โบราณมาให้ใช้อาการนิ่ง หรืออาการนั่ง อาการถูกตามจุดที่กำหนดไว้ ตามหลักวิชาแต่โบราณแทน ซึ่งจะมีทั้ง 4 ระยะ ย้ายถูก จี้ถูก

วิธีการเหล่านี้ผู้เรียนวิชากัมมัฏฐานาจาริยะย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า อริยาจารย์ประเพณีย่อมรู้ดีอยู่แล้วถึงการใช้และสภาวะเวลาที่เหมาะสมกับการใช้ ที่ไม่เป็นอันตรายปลอดภัยแก่ผู้ศึกษา

อารมณ์หลักในการเดิน ไม่ใช่รูปที่เกิดจากลมกระทบ แต่ใช้อาการเคลื่อนทั้งปวงของเท้า อาการยืน และอาการกลับแทน

ข. ส่วนอาการภายนอกนั้น เช่น อาการถูก อาการโดน อาการชน อาการกระทบและอาการอื่นๆ เป็นต้น ถูกจัดเป็นอารมณ์รองไป ....ติดตามต่อตอนที่ ๙

#วิธีเลือกธรรม #วิธีเลือกครู #เพื่อวิปัสสนาขององค์พุทธะ
โดย พระครูภาวนาวิสุทธิคุณ วิ. (ชัชวาล ชินสโภ) พธ.บ ๓๕
อธิบดีสงฆ์ พุทธวิหาร ศูนย์กลางการศึกษาวิปัสสนาธุระ


ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-11-08