ละอุปาทานขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ได้

ถ้าเราไม่ติดพอง-ยุบ ตามกำหนดดูตามความเป็นจริง ใจเป็นกลางอยู่ มาก็กำหนดไป ไม่มาก็ไม่เดือดร้อน จิต อยู่กับพอง-ยุบด้วยมัชฌิมา กิเลสเข้าไม่ได้ ความอยากได้ พอง-ยุบด้วยความชอบไม่มี เมื่อปวดมาก็กำหนดปวดได้ปกติ ไม่รังเกียจปวด ไม่ รู้สึกเดือดร้อนเพราะได้สิ่งที่ไม่ชอบ พองหายก็ไม่เดือดร้อน เพราะพลัดพราก โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ ทุกข์ทั้ง ๕ ประเภทนี้ไม่สามารถเกิดได้ เมื่ออยู่กับพอง-ยุบก็กำหนดพองหนอ ยุบหนอ ปกติ ไป เวลาที่พอง-ยุบเบาลง กำหนดรู้หนอ รู้หนอ พอง- ยุบเร็วขึ้นก็กำหนดรู้หนอ รู้หนอไป ทันทีที่พอง-ยุบไม่มี กำหนดนิ่งหนอ หรือนั่งหนอ ถูกหนอ หรือแล้วแต่ว่าครูให้ อะไรไว้ ก็กำหนดไปตามนั้น ให้จิตเป็นมัชฌิมาอยู่ 

บางคนไม่ได้ติดตรงนี้ แต่ไปติดตรงพองอย่างนี้ดี พอง อย่างนี้ไม่ดี คือไปติดตรงสัญญา ไปติดที่ลักษณะของเขา อยากได้พองอย่างนั้น ไม่อยากได้พองอย่างนี้ แสดงว่า อุปาทานเกาะแล้ว เมื่ออุปาทานในขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ปัญหาคือถ้าได้ตามที่อยากแล้ว เกิดพลัดพรากไปก็เป็น ทุกข์ พอไม่ได้ก็เป็นทุกข์ ไปได้อย่างอื่นแทนก็เป็นทุกข์ ทั้ง โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ เกิดขึ้นตามมา

ดังตัวอย่างเหล่านี้จะเห็นได้ว่า ในขันธ์ ๕ นั้นไม่ว่า จะเป็นขันธ์ใด รูปก็ตาม เวทนา หรือสัญญา สังขาร วิญญาณก็ตาม ถ้าเราอุปาทานคือเกาะอาศัยให้เป็นเพียง แค่ขันธ์ ๕ ก็จะเป็นกุศลนำไปสู่มรรคผลนิพพานได้ ไม่ อาศัยก็ไปนิพพานไม่ได้ แต่ถ้าอุปาทาน คือ ยึดเกาะด้วยอำนาจความชอบ หรือความชัง ซึ่งเป็นอกุศล ก็จะกลายเป็นวัตถุกามหรือ บ่วงมารทันที เป็นเหตุให้ทุกข์ทั้ง ๓ อันได้แก่ ได้ในสิ่งที่ ไม่อยากได้ อยากได้แล้วไม่ได้ หรือได้ในสิ่งที่อยากได้แล้ว เกิดพลัดพรากไป จึงเป็นเหตุให้ทุกข์ทั้ง ๕ ประเภท คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ เกิดได้ทันที 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า อุปาทานคือยึดติด ขันธ์ทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ เพราะขันธ์ ๕ แต่ละกองนั้นเป็นสมาชิกในกองทุกข์ ดังนั้นใครไปยึดเข้า คนนั้นเป็นทุกข์ ไม่มีทางรอดได้

 

ที่มา:จากหนังสือพระธรรมจักรเทศนาฏีกา

 



ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-12-11