ลักษณะของทุกข์

ชาติปิ ทุกฺขา ในพระไตรปิฎกบอกว่า การเกิดหรือ การอุบัติขึ้นเป็นทุกข์ อาการเกิดจึงเป็นอาการของทุกข์ สิ่งใดเกิดได้ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ได้ ในขณะที่การเกิดดำเนินอยู่ ขณะนั้นกำลังทุกข์อยู่

พองมีการเกิดขึ้นไหม...มี 
พองเป็นทุกข์หรือเป็นสุข...เป็นทุกข์ใช่ไหม
ดีใจมีการเกิดขึ้นไหม...มี
ดีใจเป็นทุกข์หรือเป็นสุข...ทุกข์หมดเลย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด

ชราปิ ทุกฺขา ความแก่ ความเสื่อมโทรม หรือความ คร่ำคร่าเป็นทุกข์ อาการเสื่อมโทรม จึงเป็นอาการของทุกข์ สิ่งใดเสื่อมโทรมได้ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ได้ ในขณะที่ความเสื่อม กำลังดำเนินอยู่ ขณะนั้นกำลังทุกข์อยู่ ความเสื่อมโทรม บางท่านก็อธิบายว่าความคร่ำคร่า ก่อนนั้นอาจารย์ค้นตำรา มาก ภาษาไทยขยายความได้พิสดารหลายอย่าง สรุปคือ

พองเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไหม...มี
ความเสื่อมเป็นทุกข์หรือเป็นสุข...เป็นทุกข์ใช่ไหม
ดีใจมีความเสื่อมไหม...มี
เสื่อมได้เป็นทุกข์หรือเป็นสุข...เป็นทุกข์หมดเลย

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเสื่อมใช่ไหม

พฺยาธิปิ ทุกฺขา ในพระไตรปิฎกมีพิเศษกว่าหนังสือ อื่น เพราะในหนังสือมนต์พิธี ๑๒ ตำนานไม่มีกล่าวไว้ พฺยาธิ ทุกฺขา นี้มีความหมายว่า ความเจ็บป่วยหรือ ความง่อนแง่นคลอนแคลนเป็นทุกข์ ดังนั้นอาการง่อนแง่น คลอนแคลนเป็นอาการของทุกข์ สิ่งใดง่อนแง่นคลอนแคลน ได้ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ได้ ในขณะที่ง่อนแง่นคลอนแคลนกำลัง ดำเนินอยู่ ขณะนั้นกำลังทุกข์อยู่

พองนี่เกิดขึ้นแล้วมีง่อนแง่นคลอนแคลน ทำท่าจะ เปลี่ยนแหล่ไม่เปลี่ยนแหล่ไหม...มี
แล้วง่อนแง่นคลอนแคลนเป็นทุกข์หรือเป็นสุข... ทุกข์ใช่ไหม
ดีใจมีง่อนแง่นคลอนแคลนไหม...มี ง่อนแง่นคลอนแคลนได้ เป็นทุกข์หรือเป็นสุข...
ทุกข์หมดเลยใช่ไหม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรง่อนแง่นคลอนแคลนใช่ไหม

มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตายหรือความดับสลายเป็น ทุกข์ อาการดับสลายเป็นอาการของทุกข์ สิ่งใดดับสลาย ได้ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ได้ ในขณะที่ดับสลายกำลังดำเนินอยู่ ขณะนั้นกำลังทุกข์อยู่

พองนี่เกิดขึ้นแล้วมีดับสลายไหม...มี
ดับสลายเป็นทุกข์หรือเป็นสุข...ทุกข์ใช่ไหม ดีใจมีดับสลายไหม...มี
ดับสลายได้ เป็นทุกข์หรือเป็นสุข...ทุกข์หมดเลย ใช่ไหม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับสลายใช่ไหม

เหล่านี้คือลักษณะหรือรูปร่างหน้าตาของทุกข์ ในโลกนี้ หรือโลกไหน ๆ สิ่งใดก็ตามประกอบด้วยลักษณะ ๓ หรือ ๔ ดังนี้ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ จะเห็นได้ว่าในอารมณ์กัมมัฏฐาน ทั้งปวง ทั้งส่วนที่เป็นกุศลหรืออกุศล ทั้งรูปทั้งนามล้วน เป็นทุกข์ทั้งหมดเลยใช่ไหม รู้อย่างนี้แล้วเวลาได้พบปะ เจอะเจอ จะได้ไม่หลงใหลไปชอบ ไปชัง ไปกลัว ไป มัวเมา จะได้ไม่เผลอตัวยอมเป็นทาสทุกข์ จะได้รู้จัก ระวังจิตของตน ป้องกันและยกระดับจิตให้ขึ้นสู่ความ เป็นอิสระพ้นจากทุกข์

 

ที่มา:จากหนังสือพระธรรมจักรเทศนาฏีกา

 



ปรับปรุง ณ วันที่ 2022-12-11